หน้าแรก Article “หมอเพชรดาว” กับนโยบายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ “ภูมิใจไทย” สู่การปฏิบัติ

“หมอเพชรดาว” กับนโยบายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ “ภูมิใจไทย” สู่การปฏิบัติ

0
“หมอเพชรดาว” กับนโยบายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ “ภูมิใจไทย” สู่การปฏิบัติ
Sharing

เว็บไซด์ thepenin.com เผยแพร่บทสัมภาษณ์  แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตส่วนตัว จนก้าวมาสู้เส้นทางการเมือง ในฐานะผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย โดยเฉพาะบทบาทในการวางแนวนโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการกล่าวถึงภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลได้เร็ว ๆ นี้

สำหรับหมอเพชรดาวเป็นชาวปัตตานี หลานฮัจยีสุหลง โต๊ะมีนา อดีตประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ที่ถูกอุ้มหายไปสมัยจอมเผด็จการ จอมพลป.พิบูลสงคราม หลังยื่นข้อเสนอ 7 ข้อให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นลูกสาวนายเด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้ากลุ่มวาดะห์คนแรก ก่อนจะผ่องถ่ายให้นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา

การได้สัมผัสและรับรู้ของการเป็นลูกหลานนักต่อสู้ ทำให้หมอเพชรดาว เต็มไปด้วยเลือดของนักสู้ เธอเรียนจบด้านจิตแพทย์ มีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้จะได้รับการเสนอให้รับตำแหน่งในกรุงเทพฯ แต่เธอปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการช่วยเหลือพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันนี้กับบทบาทใหม่ในการสะท้อนปัญหา 3 จังหวัดสู่ผู้มีอำนาจ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เป็นนักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม และต่อสู้เพื่อผู้หญิง เธอสมหวังกับงานการเมือง กับส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคภูมิใจไทย เป็นมุสลิมะฮฺคลุมฮิญาบคนเดียวในรัฐสภา

 

ย้ำ ส.ส.ชายแดนใต้คิดและทำเรื่องเดียวกันเพื่อพี่น้องในพื้นที่

“ฝากกรมสุขภาพจิตและรัฐดูแลเยียวยาจิตใจเด็กที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เหตุผลที่ตัดสินใจร่วมพรรคภูมิใจไทย จากการพูดคุยหลัก คือ นโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้คิดเอง วางแผนเองจากนโยบายของพรรคที่มีกรอบกว้างๆ ไม่ต้องเป็นโครงการ ทำให้ตัดสินใจเข้าภูมิใทยได้ง่ายขึ้นไม่เคยคุยกันว่าจะเป็นปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่เท่าไหร่ แค่ได้เป็นคนคุมนโยบายตรงนี้ก็คุ้มแล้ว ได้คิดเองทำเองหมด อิสระในกรอบกว้างๆ

“เมื่อวันเลือกตั้งมาถึง กับการตอบรับของคนในพื้นที่ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ กับเสียงสนับสนุนทุกเสียง ยอมรับเสียงประชาชนที่เลือกทุกคนเข้ามา คิดว่าต้องทำหน้าที่หนุนการทำงานกันที่มีทั้งภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ ประชาชาติ และพลังประชารัฐ ซึ่งรู้จักกันทั้งนั้น หากก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละพรรค ผู้สมัครไม่สามารถดำเนินการเองได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชายแดนใต้ เรามีสิทธิ์มีเสียงมากที่สุด

“เราคุยเรื่องเดียวกัน มีประโยชน์เพื่อประชาชน คนที่ยังไม่ได้นับเลือกในครั้งนี้ เช่น ทนายอับดุลกอฮาร์ก็ทำงานด้านกฎหมายและสิทธิต่อไป ทำอย่างไรที่จะให้มีความสงบและสันติภาพได้จริง

 

กับการลงรับสมัครเลือกตั้งมาหลายครั้ง ครั้งนี้ถือว่าสมหวังหรือไม่

“ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ที่ลงรับสมัครทำงานการเมือง ครั้งแรกลงรับสมัครส.ส.เขตหนองจอก ลาดกระบัง ไม่ใช่พื้นที่บ้านเรา แต่ได้ประสบการณ์มาเยอะมาก ครั้งที่ 2 ลงรับสมัครส.ว. ครั้งที่ 3 ลงรับสมัครส.ว. ล่าสุดเป็นครั้งที่ 4 กับ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และลาออกเป็นครั้งที่ 3 ของงานราชการ”

“สนุกกับงานแต่รู้ว่างานที่ทำได้แค่นั้น ไม่สามารถจะบอกระดับนโยบายในเรื่องที่อยากทำในพื้นที่คือเด็กและความยุติธรรม หากยังมุ่งมั่น อัลลอฮฺชร้ทางให้ตลอด ตอนคุยกันเมื่อรู้ว่าให้อยู่เป็นปาร์ตี้ลิสต์ ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งไม่ใช่แค่สามจังหวัด นโยบายพรรคหาเสียงแล้วสนุกตรงที่มีทีมนักธุรกิจ เห็นลู่ทางในการสร้างเศรษฐกิจ หลังวันหยุดยาวคงได้พูดคุยกัน”

” หมอรับราชการมาตลอดชีวิต มีแต่เงินเดือนแต่มีทุนทางสังคมเยอะมาก ต้องมีการเสริมรายได้ด้วยตัวเองด้วยกิจกรรมเพื่อช่วยในพื้นที่ หลายอย่างของพรรคที่ทำอยู่น่าสนใจและนำมาต่อยอดในพื้นที่ได้ เช่น เรื่องฟุตบอลจะมาโยงกันยังไง เด็กสนใจฟุตบอลมีมากในพื้นที่ งานเยียวยาก็ฝากกับกรมสุขภาพจิตว่าสิ่งที่ดีให้หนุนต่อ เรื่องเด็กในโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง

“ได้เจอคนที่เยียวยาไปเมื่อปี 2549 จากโรงเรียนบ้านลาเมาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส 10 กว่าปีที่ทำให้เป็นแรงบันดาลใจให้มีการซ้อมแผนในโรงเรียน ครูที่อยู่ในเหตุการณ์ที่มีการปะทะ เจ้าหน้าที่ล่าถอยเข้าไปในโรงเรียน เด็กป.1 ถูกยิงทะลุลงท้อง ส่วนเด็กอนุบาลถูกแม่บ้านพาวิ่งแล้วล้มทับจนเด็กสะโพกหัก เด็กอนุบาลที่เรียนประถมแล้วยังหวาดระแวงอยู่ จึงต้องมีระบบการเยียวยาจิตใจที่ต่อเนื่องและจริงจัง ต้องทำงานวิจัยเรื่องซ้อมแผนและทำต่อระดับนโยบาย”

ฝ่ายความมั่นคงก็ทำแต่ยังไม่มีกระบวนการเยียวยาจิตใจเด็กกับครูว่าจะทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องทำและต้องกระตุ้นให้ความวำคัญ ไม่ใช่เกิดเหตุแล้วคิดทำ รัฐจะนั่งนิ่งให้เขามาร้องขอไม่ได้ ต้องไปให้ความรู้เพราะมีองค์ความรู้มากมายส่วนของงานกรมสุขภาพจิตมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชสงขลามารักษาการและนักจิตวิทยาชุดเดิมยังทำงานอย่างต่อเนื่อง”

 

การเลือกครั้งนี้มีมุสลิมะฮฺได้รับการการเลือกตั้งเข้าไปน้อยมาก จะเคลื่อนไหวประเด็นผู้หญิงอย่างไรบ้าง

“คงเป็นมุสลิมะฮคลุมฮิญาบอยู่คนเดียวในสภา เวทีภาคประชาสังคมชายแดนใต้รวบรวมข้อเสนอจากพี่น้องผู้หญิงในชาบแดนใต้ให้หมดแล้ว และเป็นระบบมากที่สุด ส่วนพี่น้องมุสลิมะฮฺในพื้นที่อื่นต้องดูประเด็นกันไปว่าพื้นที่ไหนมีประเด็นอะไรซึ่งไม่เหมือนชายแดนใต้ ในสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจำเป็นต้องมีผู้หญิงเข้าไปทำด้วยทุกจังหวัดหรือไม่ รวมทั้งพูดคุยกับอดีตส.ส.มุสลิมะฮ ที่มีบทเรียนสามารถส่งต่อ สานต่อได้”

ส่วนในพรรคมีผู้หญิงได้เข้าไปทั้งหมด 3 คน แต่ยังไม่ได้คุยกันเป็นทางการในประเด็นของผู้หญิง และชมรมสตรี รัฐสภาที่มีผู้หญิงจากพรรคอื่นมาร่วมด้วย ต้องให้เขาช่วยสนับสนุนประเด็นของภาคใต้ที่ไม่มีใครรู้ดีเท่าเรา การทำงานที่พอมองไปในอนาคต 3 จังหวัด กับ 11 เสียงที่ได้มาน่าสนใจ เรามีทิศทางเดียวกัน มั่นคงในบทบาทของเรา มติพรรคจะเป็นอย่างไร เราเสนอความเห็นส่วนตัวออกไป คนในพื้นที่มีพลวัตรเปลี่ยนแปลงมาตลอด คนที่ทำงานคือคนที่ประชาชนเลือก ไม่ยึดโยงใครเป็นที่ตั้ง เป็นเรื่องที่ดี คนจริงจะอยู่ได้

ขอบคุณต้นฉบับ “เลขา เกลี้ยงเกลา” thepenin.com

 


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่