หน้าแรก news เหตุแห่งการเตะฝุ่น ! สภานายจ้าง วิพากษ์ระบบการศึกษาไทย ผลิตคนไม่ตรงกับตลาดงาน

เหตุแห่งการเตะฝุ่น ! สภานายจ้าง วิพากษ์ระบบการศึกษาไทย ผลิตคนไม่ตรงกับตลาดงาน

0
เหตุแห่งการเตะฝุ่น ! สภานายจ้าง วิพากษ์ระบบการศึกษาไทย ผลิตคนไม่ตรงกับตลาดงาน
Sharing

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการศึกษาปัญหานโยบายแรงงานแห่งชาติ โดยเตรียมจะหารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อรวบรวมประเด็นปัญหาด้านแรงงานภาพรวมนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ในการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติที่ชัดเจน เนื่องจากแรงงานไทยอยู่ระหว่างรอยต่อยุคแอนะล็อกและยุคดิจิทัลหากไม่มีการบริหารจัดการอาจทำให้เกิดวิกฤตด้านแรงงานได้ ดังนั้น การศึกษาจะชี้ให้เห็นถึงอาชีพที่จะเสี่ยงตกงานและอาชีพใดที่จะขาดแคลนแรงงานในอีก 5-6 ปีข้างหน้าเพื่อให้ระบบการศึกษา และโครงสร้างค่าจ้างแรงงานทั้งระบบปรับให้สอดรับกับทิศทางในอนาคต

“เราต้องมองปัญหาแรงงานให้เป็นระบบและกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติแบบชัดเจน เพราะปัญหาคือเรากำลังอยู่ระหว่างรอยต่อของยุคแอนะล็อกกับยุคดิจิทัล ซึ่งทำให้หลายอาชีพกำลังมีความเสี่ยงในการตกงานมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีเข้ามาแทน เช่น สื่อสารมวลชน ธนาคาร แม้แต่รถยนต์และชิ้นส่วน ที่จะก้าวสู่ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะมีการขาดแคลนแรงงานในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเช่นกันหากไม่มีการปรับระบบการศึกษาให้ทันท่วงทีจะทำให้เกิดวิกฤตด้านแรงงานได้ซึ่งจะมีทั้งตกงานและขาดแคลน” นายธนิตกล่าว

ทั้งนี้ ระบบการศึกษาของไทยถึงเวลาต้องปรับใหม่ โดยเฉพาะระดับปริญญาตรีที่พบว่าเด็กจบใหม่ในทุกๆ ปี (ช่วง เม.ย.-พ.ค.) จะมีเข้ามาสู่ระบบ 4-5 แสนคน และส่วนใหญ่ยังคงเป็นปัญหาเดิมๆ ที่กว่า 63% เป็นการจบปริญญาตรีที่เป็นสายสามัญที่ไม่ตรงความต้องการของตลาด เช่น สายสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น ขณะที่สายที่แรงงานต้องการและเป็นอนาคตของไทย เช่น สายวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี วิศวกร เป็นสายที่ขาดแคลนทั้งระดับอาชีวะ และปริญญาตรี ขณะที่โครงสร้างค่าแรงของไทยจะต้องเอื้อให้เกิดการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานโดยเน้นระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และควรให้ค่าแรงสู่ระบบลอยตัวโดยปล่อยให้เป็นกลไกตลาดทั้งระบบ

นอกจากนี้ ไทยยังต้องพิจารณาในแง่ของการรับมือกับสังคมสูงวัยที่พบว่าไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ (Aged so Ciety) ในอัตราที่เร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เนื่องจากสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 65 ปีของไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการประเมินว่าไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ในช่วงปี พ.ศ. 2566 ดังนั้น เมื่ออัตราการเติบโตของประชากรลดลง ประกอบกับจำนวนประชากรที่เข้าสู่การเป็นประชากรสูงอายุมีจำนวนมากขึ้นจะมีผลต่ออัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานลดลง ซึ่งหมายถึงระยะยาวจะทำให้มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการลดลงของกำลังแรงงานซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ

“ค่าแรงควรจะเป็นระบบลอยตัว การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2562 ที่เดิมการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างจะพิจารณาเพื่อประกาศให้มีผล 1 เม.ย.ต้องเลื่อนออกไป โดยมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะประกาศได้ภายในเม.ย. มีผล 1 พ.ค. 62 โดยเบื้องต้นตัวเลขที่มีการหารือจะมีการปรับขึ้น 2-10 บาทต่อวัน” นายธนิตกล่าว

ขอบคุรข่าว : ผู้จัดการ


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่