หน้าแรก news ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาคดีโฮปเวลล์ ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ภาครัฐจ่ายค่าโง่ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาคดีโฮปเวลล์ ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ภาครัฐจ่ายค่าโง่ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

0
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาคดีโฮปเวลล์ ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ภาครัฐจ่ายค่าโง่ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
Sharing

(22 เม.ย.62) ศาลปกครองได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 2038/2551, 107/2552, 1379/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 366-368/2557 ระหว่าง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับกระทรวงคมนาคม ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง ซึ่งขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

จากเรื่องเดิมที่กระทรวงคมนาคมที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ร้องว่า คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดตามข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ให้ผู้ร้องทั้ง 2 คืนเงินค่าตอบแทนและเงินอื่นให้แก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยอ้างว่าผู้ร้องทั้ง 2 บอกเลิกสัญญาสัมปทานระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในกรุงเทพมหานครและการใช้ประโยชน์จากที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยไม่ชอบ ซึ่งผู้ร้องทั้ง 2 เห็นว่าข้อพิพาทดังกล่าวไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการที่สามารถระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการได้ เนื่องจากมิใช่ข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาฯ ในการนี้สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้ผู้ร้องทราบตามหนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2551

สำหรับคดีนี้ศาลปกครองกลางเคยมีพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 กันยายน 2551 ทั้งหมด และเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 44/2550 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 70/2551 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551 ทั้งหมด และมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 กันยายน 2551 และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดแก่ผู้ร้องทั้ง 2

เนื่องจากศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่าเมื่อคำนวณนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการเสนอข้อพิพาทแล้ว ระยะเวลาของการเสนอข้อพิพาทจะครบกำหนด 5 ปี คือ วันที่ 30 มกราคม 2546 ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 การเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเกินกว่ากำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดตามนัยมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และเมื่อระยะเวลาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นเรื่องสำคัญ ถือได้ว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลปกครองสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่าในกรณีนี้คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจรับข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ที่ผู้คัดค้านยื่นต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการไว้พิจารณาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดได้

การที่คณะอนุญาโตตุลาการรับข้อพิพาทดังกล่าวไว้พิจารณาและต่อมามีคำชี้ขาดข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 และการที่ผู้ร้องทั้ง 2 ยื่นข้อเรียกร้องแย้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามนัยมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ดังกล่าว เมื่ออนุญาโตตุลาการรับข้อเรียกร้องแย้งของผู้ร้องทั้ง 2 ไว้พิจารณา และต่อมามีคำชี้ขาดข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 44/2550 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 70/2551 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย

 


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่