หน้าแรก news “หมอเพชรดาว” นำทีม ส.ส.ปลายด้ามขวาน ยื่น “นายกฯ” ขอเลิก กม.พิเศษ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่

“หมอเพชรดาว” นำทีม ส.ส.ปลายด้ามขวาน ยื่น “นายกฯ” ขอเลิก กม.พิเศษ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่

0
“หมอเพชรดาว” นำทีม ส.ส.ปลายด้ามขวาน ยื่น “นายกฯ” ขอเลิก กม.พิเศษ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่
Sharing

ที่รัฐสภา Tot แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย พร้อมกับสมาชิก ส.ส.เขตในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ อาทิ นายอับดุลบาซิม อาบู ส.ส.ปัตตานี พรรคภูมิใจไทย, นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ ส.ส.ยะลา พรรค พปชร., นายวัชระ ยะวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส พรรค พปชร. ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนมาตรการด้านความมมั่นคง เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในพื้นที่ เนื้อความในเอกสาร ความว่า

จากกรณีเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ปฏิบัติการการปิดล้อม ตรวจค้น และควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ซึ่งมักจะมีข้อร้องเรียนมาโดยตลอดว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

กระทั่งล่าสุด กรณีการนำตัวนายอับดุลเลาะ อีซอมซอประชาชนในพื้นที่ตำบลตะบึงอำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานีไปกักไว้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 จนต่อมาปรากฏเหตุการณ์ว่าเจ้าหน้าที่ต้องนำตัวนายอับดุลเลาะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี และถูกนำตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ตามที่ปรากฏเป็นข่าวที่ทราบโดยทั่วกันนั้น

ส่งผลกระทบและทำให้เกิดความแคลงใจของพี่น้องประชาชนเป็นวงกว้างต่อการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษว่ามีการปฏิบัติการที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

ซึ่งความคลางแคลงใจดังกล่าว กลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใช้เป็นเหตุผลในการก่อเหตุ ดังนั้น ในฐานะสภาผู้แทนราษฎรจึงมี ข้อเสนอต่อฝ่ายความมั่นคงเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนในพื้นที่ ดังนี้

1.ขอให้พิจารณายกเลิกการใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยขอให้พิจารณานำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรมาใช้ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

2.สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้หนุนเสริมการคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่

3.เพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวว่าตลอดระยะเวลาการควบคุมตัวไม่มีกรณีการกระทำที่ละเมิดสิทธิใดๆในการกักตัวและควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษให้มีการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ของผู้ถูกกักตัวหรือควบคุมตัวตลอดเวลา (24 ชั่วโมง) โดยให้ผู้ถูกกักตัวหรือควบคุมตัวให้ความยินยอมโดยสมัครใจซึ่งปัจจุบันนี้มีการบันทึกภาพเคลื่อนไหว เฉพาะช่วงที่ซักถามและมีการรับสารภาพหรือการนำตัวไปสถานที่ต่างๆประกอบคำรับสารภาพเท่านั้น

4.กรณีมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการควบคุมตัวบุคคลตาม พรก. ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ต้องนำตัวบุคคลที่ถูกควบคุมไปศาลด้วยเพื่อให้ศาลได้ไต่สวนผู้ถูกควบคุมตัวก่อนพิจารณาออกหมายควบคุม

5.การตรวจร่างกายของบุคคลที่ถูกควบคุมตัวในฐานะผู้ต้องสงสัยควรดำเนินการโดยแพทย์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานความมั่นคงเพื่อความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่และสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนทั่วไป

6.ยุติการจัดเก็บดีเอ็นเอของประชาชนที่ไม่สมัครใจและขอให้ทำลายดีเอ็นเอและฐานข้อมูลดีเอ็นเอของประชาชนตำบลบ้านแหรอำเภอธารโตจังหวัดยะลาที่ถูกเจ้าหน้าที่จัดเก็บโดยไม่สมัครใจเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2562 เพื่อลดความหวาดระแวงและสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม

7.จากกรณีการบาดเจ็บของนายอับดุลเลาะอีซอมูซอซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่นั้นฝ่ายความมั่นคงจะต้องเปิดโอกาสให้มีการรักษาตัวผู้เสียหายโดยแพทย์อย่างเป็นอิสระให้ความเป็นธรรมแก่นายอับดุลเลาะและครอบครัวอย่างสุจริตและให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอย่างสุจริตเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ต่อเจ้าหน้าที่และรัฐบาล

8.ขอให้รัฐบาลทบทวนและพิจารณาเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ได้ในประเทศไทยเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันคืออนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีและขอให้รัฐบาลดำเนินการส่งมอบสัตยาบันสารให้กับเลขาธิการสหประชาชาติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับที่ประเทศไทยได้ลงนามแล้วแต่ยังไม่มีการมอบสารสัตยาบัน


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่