หน้าแรก news ส.ส.ภูมิใจไทย แนะยกเลิกคำสั่ง คสช.3 ฉบับในพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมทวงถามการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างถาวร

ส.ส.ภูมิใจไทย แนะยกเลิกคำสั่ง คสช.3 ฉบับในพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมทวงถามการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างถาวร

0
ส.ส.ภูมิใจไทย แนะยกเลิกคำสั่ง คสช.3 ฉบับในพื้นที่ชายแดนใต้  พร้อมทวงถามการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างถาวร
Sharing

เมื่อวันที่ 21 ส.ค.62 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ (เกียกกาย) นายสฤษดิ์ บุตรเนียน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับปัญหาแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อผลิตน้ำประปาของโรงพยาบาลกบินทร์บุรี สืบเนื่องมาจากปี 2522 เป็นโรงพยบาลขนาด 60 เตียง พอปี 2548 เพิ่มเป็น 180 เตียง ปี 2560 เพิ่มเป็น 250 เตียง เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีประชาชน 1.5 แสนคน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีผู้มาใช้บริการ ผู้ป่วยนอกวันละ 1,200 คน ผู้ป่วยใน คนไข้ใหม่เฉลี่ย 60 คน มีอัตราการใช้บริการเกือบ 100 %

โรงพยาบาลแห่งนี้ต้องจ่ายค่าน้ำประปาเดือนละ 5แสนกว่าบาท มีบริษัทศุภผล บริจาคที่ดินบ่อลูกรังเก่าขนาด 30 ไร่ ที่อยู่ใกล้โรงพยาบาล มีความจุน้ำ 6 แสนลูกบาศก์เมตร ให้เป็นแหล่งผลิตน้ำดิบ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายจากเดือนละ 5 แสน เหลือเดือนละ 3 หมื่นบาท แต่ปัญหาคือในปี 2555 น้ำที่ใช้อยู่ในแหล่งน้ำเกิดขาดแคลน สามารถใช้เพียง 6 เดือนเท่านั้น  จึงขอความอนุเคราะห์ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โปรดไพิจารณางบประมาณขุดลอกและขยายให้กว้าง ให้ลึก เพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้ในฤดูฝน และนำมาใช้ได้ตลอดปี

อีกทั้ง โปรดพิจารณาโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำประปาของโรงพยาบาลและระบบกระจายน้ำ ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับเรื่องเอาไว้แล้ว

 

นายเกียรติ เหลืองขจรวิทย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรคภูมิใจไทย หารือประธานสภา เรื่องความทุกข์ยากของประชาชนในลุ่มน้ำลำสนธิ และลุ่มน้ำป่าสัก ที่ผ่านมาเกิดความแห้งแล้ง ในลุ่มน้ำลำสนธิ เกิดตลิ่งพัง บริเวณบ้านบัวชุม บ้านหนองยายโต๊ะ 6 จุด ซึ่งเป็นจุดใหญ่ ทำให้บ้านเรือนเสียหาย ตู้ยามตำรวจแตกร้าวและทรุดตัว เหลือเพื้นที่เพียง 2-3 เมตรจากที่มีอยู่ 50-60 เมตร

อีกจุดคือ แม่น้ำป่าสัก บริเวณ บ้านท่ามะนาว ต.ท่ามะนาว มีกรมเจ้าท่า ไปทำโครงการไว้แล้วคือขุดลอก และ ทำเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง ผ่านมา2ปีแล้วแต่ยังไม่เรียบร้อย ตอนนี้ยังพังเพิ่มเติมขึ้นไปอีก ขอให้กรมเจ้าท่า หรือกรมโยธาธิการ ช่วยดูแลปัญหานี้ให้กับชาวบ้านด้วย เพราะพืชผลการเกษตร ฟาร์มหมู่ สิ่งปลูกสร้างของประชาชนพัง

 

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ระบุว่า กลุ่มชาวบ้าน ได้ถามถึงการเป็นตัวแทนของประชาชน ในสภาที่ปรึกษาการบริหาร และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มาจากการเลือกกันเอง ของประชาชน ตาม พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2553 ซึ่งได้หยุดไปตั้งแต่ คสช.ยึดอำนาจ ในปี 2551 ต่อมาได้ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14 / 2559 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 ในยุคเลิกสภาที่ปรึกษาการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา แต่จากเดิมมาตรา 19 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว ได้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษา มีสมาชิกไม่เกิน 19 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเอง ของประชาชนแต่ละกลุ่ม 44 คน ซึ่งมีตัวแทนของกลุ่มสตรีด้วย และมีผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกฯ แต่งตั้งอีกไม่เกิน 5 คน ก็เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการไม่เกิน 60 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาโดยคณะกรรมการจาก กอ.รมน. และ ศอ.บต. ไม่เกิน 45 คน และจากผู้ว่าราชจังหวัดเลือก และผู้ทรงคุณวุฒิด้วย

ฉะนั้น อดีตสภาที่ปรึกษา ที่เคยเป็นที่รวบรวมความหลากหลายทางความคิด การมีส่วนร่วมของประชาชน ที่เลือกกันเอง และยึดโยง กับพื้นที่ได้หายไป ดังนั้นเพื่อที่ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และขัดกันระหว่างตัวบทกฎหมายหลัก พ.ร.บ.ศอ.บต. 2553 จึงเห็นสมควรยกเลิกประกาศคำสั่ง คสช.3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรายละเอียดคำสั่ง คสช. ต้องขออนุญาตนำเรียนเป็นเอกสาร ผ่านประธานรัฐสภา เพื่อที่จะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป

 

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ในนามของพี่น้องชาวจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ ขอขอบพระคุณ นายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้ความสนใจดูแลแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อน ให้แก่บรรดาพี่น้องทั้ง 2 จังหวัด เนื่องจากประสบกับภาวะฝนแล้ง และน้ำขาดแคลน ซึ่งก่อนหน้าที่นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ไปตรวจราชการ ก็ได้รับความกรุณา จากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล , รมว.คมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ, รมช.มหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี, รมว.เกษตรฯ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน และรมช.เกษตรฯ นายธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ให้ความสนใจไปดูแล แก้ไขบรรเทาทุกข์ ให้แก่พี่น้องประชาชนเป็นการเบื้องต้น

หลังจากวันที่ 19 สิงหาคม 2562 ท่านนายกฯ ลงพื้นที่ไปตรวจราชการ ได้รับข่าวดีว่า จ.บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์ ฝนตกแล้ว แต่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการฝากไว้ คือการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร ทำอย่างไรจะสามารถขยายการกักเก็บแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ตามที่ท่าน นายกฯ ได้ให้นโยบายกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเอาไว้ จึงฝากติดตามทวงถาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดูแลแก้ไข เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง การขาดแคลนน้ำได้เป็นไปอย่างถาวร


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่