หน้าแรก news “หมอหนู” ปลื้ม หลัง “สพฉ.” จับมือ “การบินพลเรือน” ส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วยเฮลิคอปเตอร์ ย้ำ พร้อมจัดงบช่วยเหลือภารกิจ ชี้ อำนวยความสะดวกประชาชน สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยว

“หมอหนู” ปลื้ม หลัง “สพฉ.” จับมือ “การบินพลเรือน” ส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วยเฮลิคอปเตอร์ ย้ำ พร้อมจัดงบช่วยเหลือภารกิจ ชี้ อำนวยความสะดวกประชาชน สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยว

0
“หมอหนู” ปลื้ม หลัง “สพฉ.” จับมือ “การบินพลเรือน” ส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วยเฮลิคอปเตอร์ ย้ำ พร้อมจัดงบช่วยเหลือภารกิจ ชี้ อำนวยความสะดวกประชาชน สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยว
Sharing

28 สิงหาคม 256 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือ“ การบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Helicopter Emergency Medical Service: HEMS)” ระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยเรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โดยนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือน (กพท.)

นายอนุทิน กล่าวว่า การบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์นั้น มีกิจการทั้งภาครัฐ และเอกชน สำหรับภาครัฐ ดำเนินการโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นผู้จัดให้มีระบบการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ปฏิบัติงานมาร่วม 10 ปี ภายใต้ชื่อ Thai Sky Doctor

มีกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนสนับสนุนด้านบุคลากร ทีมการแพทย์ฉุกเฉิน ที่มีความเชี่ยวชาญกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ กระทรวงกลาโหมสนับสนุนอากาศยานจากทุกเหล่าทัพและภาคเอกชน ช่วยสนับสนุนภารกิจการลงนามความร่วมมือในวันนี้

“ยินดีกับความร่วมมือที่เกิดขึ้น เพราะเป็นการยกระดับการให้บริการประชาชน นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว เวลาเกิดเหตุวิกฤติ ประเทศไทยมีแผนรับมือแน่นอน การใช้เฮลิคอปเตอร์มีความรวดเร็ว ขณะที่อุปกรณ์ด้านใน ต้องมีความพร้อมในการช่วยเหลือชีวิตคน จะเพิ่มโอกาสรอดให้ผู้ป่วย ส่วนเรื่องงบดำเนินงาน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินมีงบอยู่แล้ว แต่หากมีปัญหา ขอให้แจ้งมา จะหาทางช่วยเหลือเต็มที่ ในส่วนของบุคลากรเชื่อว่า หากเป็นเรื่องช่วยชีวิต จะมีนักบินจิตอาสาเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก”

ด้านเรืออากาศเอก นายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสพฉ. กล่าวว่าตั้งแต่ปี 2552 เริ่มปฏิบัติการฉุกเฉินทางอากาศจนถึง 17 สิงหาคม 2562 มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยาน 357 ครั้ง โอหาสรอดชีวิตสูงมากและจากสถิติการปฏิบัติงานพบว่า ผู้ที่รับบริการเป็นผู้ป่วยวิกฤติ อาทิ โรคทางสมอคทางสมอง ระบบหายใจ และอุบัติเหตุรุนแรง ซึ่งโรงพยาบาลในที่ห่างไกลหลายแห่งอาจไม่มีแพทย์เฉพาะ

หากส่งผู้ป่วยมาทางบก เพื่อไปโรงพยาบาลที่พร้อมกว่าอาจไม่ทันการ และเสียชีวิตกลางทาง หรือพิการ เช่น หากต้องใช้รถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินจากแม่ฮ่องสอนไปเชียงใหม่ต้องใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง แต่หากใช้การลำเลียงทางอากาศยานจะใช้เวลาเพียง 30 นาที

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือน กล่าวว่า การร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติในการรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินนอกเขตสนามบิน อันจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่