หน้าแรก news มท.3 มอบนโยบายผู้บริหาร เครือข่าย พช. ย้ำ Thailand First คนไทยต้องมาก่อน กับการใช้สินค้า OTOP ก่อนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี จ.เชียงใหม่

มท.3 มอบนโยบายผู้บริหาร เครือข่าย พช. ย้ำ Thailand First คนไทยต้องมาก่อน กับการใช้สินค้า OTOP ก่อนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี จ.เชียงใหม่

0
มท.3 มอบนโยบายผู้บริหาร เครือข่าย พช. ย้ำ Thailand First คนไทยต้องมาก่อน กับการใช้สินค้า OTOP ก่อนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี จ.เชียงใหม่
Sharing

เสาร์ที่ 28 กันยายน 2562 นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยมีนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงาน

 

ในการนี้แขกผู้มีเกียรติ จากกระทรวงมหาดไทย จังหวัดเชียงใหม่ และผู้บริหารพร้อมเครือข่ายของกรมการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการและรับฟังการบรรยายพิเศษ “แนวทางเชื่อมโยงและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่” ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว โฮเทล อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเชื่อมโยงและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กระตุ้นการขับเคลื่อนการดำเนินงาน OTOP ในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนกลางจำนวน 20 คน ผู้บริหารสำนักงานพัฒนาชุมชน 4 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางแม่ฮ่องสอน) จำนวน 20 คน คณะกรรมการเครือข่าย OTOP จำนวน 20 คน OTOP Trader จังหวัด จำนวน 4 คน ประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน

เศรษฐกิจพอเพียงมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนเฉลิมพระกียรติ (ผู้ใหญ่บ้าน) จำนวน 53 คน ผู้นำอช. จำนวน 40 คน ผู้นำสตรีจำนวน 40 คนประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 20 คน คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 20 คน คณะกรรมการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 20 คน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 43 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 300 คน

 

มท.3 กล่าวว่า เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไทย การมุ่งเน้นให้ชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง ชุมชนมีการบริหารจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบ มีผู้นำชุมชนเข้มแข็งสามารถแก้ปัญหาของชุมชนกันได้เอง แบบมีส่วนร่วม และเรียนรู้ร่วมกัน ขณะเดียวกันชุมชนต้องมีความมั่นคงด้านอาชีพรายได้ มีทัศนคติพึ่งตนเอง ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ประกอบอาชีพสุจริต มีการรวมกลุ่ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้เกิดมูลค่าเพิ่ม เพื่อมีรายได้ที่สูงขึ้นคุณภาพชีวิตที่มีความสุขก็จะตามมา สุดท้ายเน้นย้ำถึงการสร้างภาพลักษณ์ในการใช้สินค้า OTOP เป็น Thai First คือ คนไทยต้องนิยมก่อน ต้องใช้ก่อน

 

ภายหลังการมอบโยบายเสร็จสิ้น มท.3 และคณะ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านป่าตาล หมู่ที่ 4 ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เยี่ยมชมกิจกรรมทอผ้าพื้นเมือง, ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง กิจกรรมกลุ่มสมุนไพรการนวดน้ำมันงา “ย่ำขาง” (การนวดโดยใช้ความร้อน) กลุ่มผลิตภัณฑ์หมวกโบราณ (หมวกกะโล่) พร้อมทั้งลงพื้นที่ชม “ขัวแตะ” สะพานไม้ไผ่ที่ทอดตัวไปสู่ทุ่งนา สามารถชมวิวได้ 360 องศา เป็นหนึ่งในจุดเช็คอินและจุดขายของหมู่บ้าน และสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวด้วยการเช่าชุดพื้นเมืองสวมใส่ถ่ายภาพ โดยแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านท่องเที่ยวแห่งนี้ สามารถแวะสักการะพระพุทธรูปโบราณ “พระสิงห์” หรือ “พระสิงห์ยอง” อายุประมาณ 400 ปี ที่สามารถต่อยอด พัฒนาเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่นี่แล้วเข้าไปเที่ยวต่อในชุมชนได้อีกทาง

 

บ้านป่าตาล หมู่ที่4 ตำบลบวกค้าง จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์มีชีวิต บรรพบุรุษของที่นี่เป็นชาวไทยอง อพยพมาจากเมืองสิบสองปันนาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งปัจจุบันยังมีการอนุรักษ์ภาษาพูด การแต่งกาย และวิถีชีวิตสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน บ้านแต่ละหลังคาเรือนจะมีคนในชุมชนทำหัตถกรรมภูมิปัญญาต่างๆ อาทิ การทำกระดาษสาการทำจักสาน สานข้าวกล่องจากใบตาล สานทำโคม ทำหมวกกะโล่โบราณ ทอผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้าน สวนเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีบริการไกด์นำเที่ยวชุมชน เช่าชุดยองถ่ายรูป มีที่พัก มีร้านอาหารของฝากของที่ระลึกพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

 

ช่วงบ่าย มท.3 และคณะฯ ได้เดินทางตรวจติดตามผลการดำเนินงานบ้านเหมืองกุง หมู่ที่ 7 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านท่องเที่ยวโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญา OTOP) ชมผลิตภัณฑ์และกิจกรรมสาธิตการปั้นรูปเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมวัดโบราณ “วัดอินทราวาส” หรือ “วัดต้นเกว๋น “ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของการท่องเที่ยว คือได้มาสักการะพระพุทธรูปโบราณ ชมวิหารโบราณและจัตุรมุข ซึ่งเหลือเพียงแห่งเดียวในภาคเหนือ

โดยนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย (มท.3) ได้แนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดสินค้า OTOP เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว พร้อมรับปากจะเป็นคนกลางบูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงอื่นๆ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสินค้า OTOP มียอดจำหน่าย นำรายได้สู่ชุมชนมากยิ่งขึ้น


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่