ดร.ปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ซีแอลเอสเอ(
“อูเบอร์ เป็นนวัตกรรมด้านการขนส่งมวลชน แต่แทนที่เราจะทำให้มันกระจาย ใช้ได้ทั่วถึง ขณะเดียวกัน ยังใช้เพื่อบีบให้แท็กซี่ต้องปรับตัว พัฒนาการบริการให้ดีขึ้น ปรากฏว่า ประเทศไทย กลับไปไล่จับอูเบอร์ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ นอกจากนั้น เราเคยมีนักวิจัยต่างชาติ มาขอทำวิจัยเรื่องสาธารณสุขกับข้าราชการไทย เขาขอการอำนายความสะดวกเรื่องที่อยู่อาศัย การเดินทาง แลกกับองค์ความรู้ของเขา ปรากฏว่า กระทรวงไม่มีกฎหมายรองรับตรงนี้ นักวิจัยคนนั้น ก็ไปทำวิจัยกับประเทศอื่น ประเทศอื่นก็ได้ความรู้ไป
การค้าขายใน FB มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท แต่เราไม่มีกฎหมายรองรับ สรุปคือไปเก็บภาษีเขาไม่ได้ นี่คือเหตุผลว่า ทำไม เราต้องปฏิรูปกฎหมาย กับระบบข้าราชการก่อน เอาแค่เรานำของที่มีอยู่ มาปรับใช้ เราก็เป็น 4.0 แล้ว”
เมื่อถามถึงการบริหารเศรษฐกิจของรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาติศรีพิทักษ์ ดร.ปริญญ์ กล่าวว่า มีความตั้งใจดี แต่ถ้าเป็นนักเรียนก็สอบได้แค่ “เกือบผ่าน” เพราะ มีความตั้งใจ แต่ยังแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด อยากยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน แต่ท่านไม่มีรายละเอียด เป็นขั้น เป็นตอน ว่าจะทำอย่างไร สุดท้าย จบที่ประชานิยม ไม่ต่างจากรัฐบาลชุดอื่น แถมยังน่าสงสัยด้วย เพราะเงินนั้นไม่ผ่านประชาชนโดยตรง ในส่วนของการดึงดูดการลงทุน ท่านมาถูกทางแล้ว คือ แก้กฎหมาย เพื่อดึงดูดนักลงทุนขนาดใหญ่ เพราะนักลงทุนขนาดใหญ่ เขาไม่ได้มาคนเดียว แต่เขามีส่วนอื่นมาด้วย ล่าสุด ซัมซุงเลือกเวียดนามเป็นฐานการผลิต เวียดนามก็สบาย การจ้างงานเพิ่ม เงินสะพัด สำหรับการเมือง ตนไม่เชื่อว่าประชาธิปไตย จะช่วยให้ประเทศน่าลงทุน แต่สิ่งที่จะทำให้ประเทศน่าลงทุนมันอยู่ที่ กฎหมาย มันเอื้อต่อการลงทุนแค่ไหน เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์ ต่างชาติยังมาลงทุน เพราะกฎหมายเขานิ่ง