หน้าแรก news รมว.ดีอี แจงโครงการเพิ่มเครื่องวัดดิจิทัล100กว่าจุด ช่วยกรมอุตุฯพยากรณ์ -เกษตรกรไทยวางแผนเพาะปลูกแม่นยำ ตั้งเป้า3 ปีไทยขยับเกณฑ์มาตรฐานสากล ย้ำปี64 ราชการไทยมีคลาวด์เป็นของตนเอง

รมว.ดีอี แจงโครงการเพิ่มเครื่องวัดดิจิทัล100กว่าจุด ช่วยกรมอุตุฯพยากรณ์ -เกษตรกรไทยวางแผนเพาะปลูกแม่นยำ ตั้งเป้า3 ปีไทยขยับเกณฑ์มาตรฐานสากล ย้ำปี64 ราชการไทยมีคลาวด์เป็นของตนเอง

0
รมว.ดีอี แจงโครงการเพิ่มเครื่องวัดดิจิทัล100กว่าจุด ช่วยกรมอุตุฯพยากรณ์ -เกษตรกรไทยวางแผนเพาะปลูกแม่นยำ ตั้งเป้า3 ปีไทยขยับเกณฑ์มาตรฐานสากล ย้ำปี64 ราชการไทยมีคลาวด์เป็นของตนเอง
Sharing

นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชี้แจงกรณีที่สมาชิกอภิปรายการจัดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องดิจิทัลวัดพยากรณ์อากาศ ให้กับเกษตรกรในการวางแผนเพาะปลูกว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมาก โดยมีนโนยายเกษตรดิจิตอล ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ใส่ไว้ในงบประมาณในการเพิ่มจุดวัดพยากรณ์อีกประมาณ100 กว่าจุด ซึ่งเป็นจุดสถานีชี้วัดผลพยากรณ์อากาศแบบย่อม  ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีสถานีชี้วัดทั่วประเทศทั้งหมด 125  จุด ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีถึง3,600กว่าจุด โดยรัฐบาลได้พยายามผลักดันในงบประมาณปี63 ขอเพิ่ม100 กว่าจุด   เพราะเห็นถึงความสำคัญว่าหากมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยพยากรณ์ให้เกษตกรได้ทราบ และสามารถวางปฎิทินการเพาะปลูกต่างๆได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยจำนวนมาก  และงบประมาณก็ไม่ได้มาก

“เราพยายามวางแผนเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพิ่มจุดตัวชี้วัดทั่วประเทศให้มีความแม่นยำเหมือนนานาประเทศ  เพราะที่ผ่านมามีคำถามว่าทำไมกรมอุตุนิยมวิทยาถึงไม่มีความแม่นยำในการพยากรณ์อากาศ แต่ภายในระละเวลาอันใกล้นี้ ไทยจะสามารถขยับเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานสากลได้ และใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้”

นายพุทธิพงษ์ยังได้ชี้แจงงบประมาณโครงการทำGDCC หรือ การจัดเก็บข้อมูลในCloud  (คลาวด์) ของภาครัฐ  ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่มองเห็นการปรับเปลี่ยนการปรับตัวเข้าสู่ฐานข้อมูลรวมที่ถูกต้อง และปลอดภัย ของภาครัฐ ในส่วนของสำนักนายกรัฐมนตรีเคยมีการใช้หน่วยงานสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) มาดูแล และสนับสนุนให้หน่วยงานราชการบางหน่วยงานใช้คลาวด์ แต่ในส่วนของกระทรวงดิจิทัลได้บูรณาการว่าจากนี้ต่อไปถึง2564  ทุกหน่วยราชการของรัฐบาลไทยจะต้องใช้ระบบคลาวด์อันเดียวกัน และป้องกันข้อมูลราชการให้ปลอดภัยเหมาะสม ที่สำคัญคือประหยัดงบประมาณ

“ที่ผ่านมาทุกหน่วยตั้งงบประมาณเช่าใช้คลาวด์ในพื้นที่ต่างๆ  เป็นการสิ้นเปลืองและมาตรฐานก็ต่างกัน แต่จากนี้ไปเมื่อมีการรวมศูนย์คลาวด์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองงบประมาณอีก ต่อไปรัฐบาลไทยจะมีคลาวด์เป็นของตนโดยใช้CAT โทรคมนาคมเป็นคนทำให้ ยืนยันว่าจะไม่เป็นการซ้ำซ้อน แต่จะเป็นการถ่ายโอนทั้งหมดเพื่อให้เป็นระบบบูรณาให้เหมาะสม และดีที่สุด”

ส่วนประเด็นการใช้งบประมาณจัดเวิลด์เอ็กซ์โปร ปี63 ซึ่งประเทศไทยจะไปร่วมจัดงานที่ดูไบ ซึ่งเป็นงบผูกพัน3 ปี โดยรวมประมาณ 800 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างและทำระบบทั้งหมด  ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้พื้นที่จัดแสดงมากที่สุดเท่าที่เคยได้มา คือไซด์L  โดยปีที่แล้วเราได้ไซด์M แต่ใช้งบประมาณเท่ากัน เราจะยึดมั่นในแนวทางและวัฒนธรรมประเพณีไทย โดยใช้ดอกไม้ และสิ่งที่คนไทยให้ความนับถือในการบอกเล่าความเป็นคนไทย โดยใช้ดิจิทัลที่ทันสมัย ยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญและระมัดระวังต่อการใช้ภาษีของประชาชนอย่างมาก ไม่ให้เสียความที่จะเอาประเทศไทยไปเผยแพร่ต่อสายตาชาวโลกโดยคงคุณภาพ ใช้งบเหมาะสม และประหยัด อย่างไรก็ตามส่ิงที่สมาชิกได้แนะนำตนก็จะนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่