“วีรศักดิ์” สั่งการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT กำหนด แผนยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรมในภูมิภาคอาเซียน พร้อมดึง เทคโนโลยีเข้ามาแก้โจทย์การผลิตและขยายตลาดงานศิลปหัตถกรรมไทยเพื่อสร้างยอดขายให้ชุมชน ที่รักษาภูมิปัญญาไทยมีรายได้มั่นคงและอยู่ได้อย่างยั่งยืน
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในโอกาสวันครบรอบ วันสถาปนาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ว่า SACICT ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญด้านการอนุรักษ์ สืบสานและต่อยอดคุณค่างาน ศิลปหัตถกรรม ที่สืบทอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือสามารถสร้างงานสร้างโอกาส และรายได้ แก่ผู้ทางานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกิดความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ภารกิจของ SACICT จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อน ประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคง เข้มแข็ง ยั่งยืนแก่เศรษฐกิจฐานราก ขณะเดียวกันทุกภาคส่วน จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป วงการศิลปหัตถกรรมไทยจำต้องหลอมรวม ภูมิปัญญา องค์ความรู้งานหัตถศิลป์ไทย ผสานเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่ม มูลค่าผลิตภัณฑ์ ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสทางการตลาด เชื่อมโยงเครือข่าย งานหัตถศิลป์ให้กว้างไกล อันจะช่วยให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมที่แข็งแกร่ง
จากภารกิจที่ต้องการสืบสาน พัฒนาและต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทย เริ่มจากการพัฒนาบุคลากร ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ที่ปัจจุบัน SACICT ได้คัดเลือกและเชิดชูกลุ่มผู้ทำงานศิลปหัตถกรรมไทย จากทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมไทย และทายาท ช่างศิลปหัตถกรรมไทย ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 381 คน
SACICT มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรทั้งสามกลุ่ม เน้นการปรับกระบวนการคิดเพื่อสร้างมุมมองใหม่ ให้กับช่างผู้ผลิตให้สามารถผลิตงานหัตถศิลป์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างร่วมสมัย สามารถ ต่อยอดเกิดเป็นอาชีพและขายได้จริงในตลาด การติดอาวุธทางปัญญาด้วยองค์ความรู้ทางเทคนิค พัฒนา รูปแบบของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ที่ผสานอัตลักษณ์แห่งภูมิปัญญาร่วมกับแนวคิด Today Life’s Crafts ช่วยให้เกิดการแปรรูปสินค้าให้ตรงกับยุคสมัยและความนิยมของผู้บริโภค รวมทั้งการเชื่อม ประสานไปยังผู้ซื้อ การสร้างเครือข่ายทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลาดออนไลน์ รวมถึงการ สร้างพันธมิตรด้านการค้าใหม่ ๆ
ด้านการพัฒนาพื้นที่ชุมชมหัตถกรรม ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 38 ชุมชนทั่วประเทศ ที่มีครูและทายาทเป็นผู้ ถ่ายทอด แบ่งปัน แลกเปลี่ยน และเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง พันธมิตรในท้องถิ่น เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับกลุ่มสมาชิกที่กระจายอยู่ในชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นว่างาน ศิลปหัตถกรรมทำเป็นอาชีพได้รายได้ที่มั่นคงต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่คนใน ชุมชน โดยยังส่งเสริมให้มีการต่อยอดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมผ่านวิถีชุมชน สนับสนุนให้ เกิดกิจกรรมท่องเที่ยว
นอกจากนี้ การผลักดันไทยให้เป็น Arts & Crafts Hub of ASEAN ภายใต้การดาเนินงานของ SACICT ที่เป็นศูนย์รวมความรู้งานศิลปหัตถกรรมที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการ บูรณาการข้อมูลงานหัตถศิลป์อย่างรอบด้านในทุกมิติ ผ่านการจัดเก็บข้อมูลบนระบบการสืบค้นข้อมูลที่สามารถใช้งานง่ายทุกที่ทุกเวลา หรือที่เรียกว่า SACICT Archive ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการรวบรวบองค์ความรู้งานหัตถศิลป์บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทั้งจากตัวบุคคล ตัวผลิตภัณฑ์ และกระบวนการขั้นตอนการทำ เชื่อมโยงข้อมูลกับแหล่งเรียนรู้และชุมชนหัตถกรรมทั่วประเทศ ซึ่งภาคส่วน ต่างๆ ทั้งภาคประชาชน นักเรียนนิสิตนักศึกษา ภาคการผลิต ผู้ทำงานศิลปหัตถกรรม ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ SME และผู้ที่มองหาโอกาสทางธุรกิจ สามารถเชื่อมโยงและนำข้อมูลมาใช้งานต่อยอดให้เกิดการพัฒนาตนเอง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิผลในการผลิต รวมทั้งช่วยในการสืบสาน รักษางานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป
นางสาวแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อานวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า SACICT มีภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ ส่งเสริมให้เกิดการสืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญา งานศิลปหัตถกรรมไทยมาตลอดระยะเวลา 16 ปี ของการดำเนินงาน SACICT ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ทางและ สร้างโอกาสให้แก่ผู้ทำงานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ให้เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้อย่างกว้างขวาง
ในรอบปีที่ผ่านมา SACICT ได้ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ “หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน” หรือ Today Life’s Crafts เพื่อสร้างการรับรู้ในคุณค่าความงามของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยว่าสามารถประยุกต์ ใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันได้เสมอ โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ การเสริมสร้าง ศักยภาพให้แก่ผู้ทำงานหัตถศิลป์ การพัฒนางานศิลปหัตถกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้มีความร่วมสมัย เหมาะสมกับการใช้งาน และสร้างความนิยมและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงงานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มโอกาส ทางการตลาด
SACICT ยังให้ความสำคัญต่อการรวบรวมและจัดทำองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทยที่ใกล้สูญหาย ซึ่งเป็นการจัดทำองค์ความรู้ประเภทงานศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนคุณค่า แสดงถึงซึ่งภูมิปัญญาทั้งศาสตร์ และศิลป์เชิงช่างนับจากในอดีตกาลที่สูญหายหรือที่ใกล้จะสูญหาย โดยบันทึกข้อมูลไว้ในรูปแบบเอกสารจัดเก็บ (Archive) เป็นองค์ความรู้เชิงประจักษ์ เพื่อเก็บรักษาภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ไว้เป็นสมบัติอันมีค่าของชาติ ไม่ให้สูญหายสิ้นไปตามกาลเวลา ตลอดจนเพื่อการนำมาถ่ายทอด และเผยแพร่ ให้เกิดการรับรู้ ในคุณค่า ผ่านการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้มีทักษะฝีมือเชิงช่าง อันจะเป็นแนวทางนำไปสู่การสืบสาน และพัฒนาต่อยอดต่อไป ซึ่งประเภทงานศิลปหัตถกรรมใกล้สูญหาย ที่อยู่ในแผนดำเนินงานอนุรักษ์ และเผยแพร่ให้เกิดการรับรู้ในปี 2563 มีกว่า 40 ประเภทงาน อาทิ งานคร่ำโบราณ งานเครื่องทองลงหิน ตอกหนังใหญ่ จักสานทองเหลือง เครื่องประดับมุก ผ้ายกพุมเรียง ผ้าจวนตานี ผ้าปะลางิง งานเครื่อง ลงยาสี แทงหยวก ปูนปั้นสด ผ้าสมปักปูม เป็นต้น
ในปี 2563 SACICT ยังคงเดินหน้ายกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรมในภูมิภาคอาเซียน และในโอกาสที่ในปีนี้ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียน มีบทบาทสาคัญในการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ร่วมหารือเพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนอาเซียนมุ่งไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ ความเชื่อมโยง และการมองไปสู่อนาคตร่วมกัน ดังนั้น SACICT จึงได้ยกระดับองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรม ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดประชุม Arts & Crafts Forum ในระดับอาเซียน การจัดงาน Crafts Bangkok 2020 ซึ่งเป็นงานเดียว ในประเทศไทยที่รวบรวมทุกอย่างของ งานคราฟต์ในระดับอาเซียนและนานาชาติ
นางสาวแสงระวี กล่าวเพิ่มเติมว่า SACICT Craft Center ตั้งอยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ที่สามารถรองรับกิจกรรม ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การให้บริการห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับการประชุมระดับนานาชาติ หอนิทรรศการที่มีชิ้นงานระดับมาสเตอร์พีซที่หาดูได้ยาก ห้องสมุด และ Co-Working Space รวมถึง SACICT Corporate Gift Salon หรือบริการจัดหาของขวัญที่เป็นงานหัตถศิลป์สำหรับมอบเป็นของที่ระลึกแก่บุคคลสำคัญและหน่วยงานองค์กรระดับโลกได้
ด้วยความมุ่งมั่นในพันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กรในการ “เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้และอนุรักษ์ สืบสานคุณค่าศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งต่อยอดเชิงพาณิชย์สู่สากล เพื่อให้ชุมชนกินดีอยู่ดี อย่างยั่งยืน” SACICT พร้อมที่จะชี้ทางและสร้างโอกาสและยกระดับงานศิลปหัตถกรรมของไทยสู่ความเป็นสากล อาทิ การเป็นผู้นำด้าน CRAFT TREND กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตศิลป์ร่วมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ SACICT Concept โดยการจับมือกันระหว่างผู้ผลิตงานหัตถศิลป์กับคนรุ่นใหม่ ที่เป็นทั้งนักออกแบบ นักศึกษา และกลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อรวมกันจัดทำชิ้นงานหัตถศิลป์ต้นแบบขึ้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับของคนรุ่นใหม่ ให้หันมาสนใจผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของไทยมากขึ้น
“ไม่ว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร SACICT เชื่อมั่นในบุคคลากรในแวดวงงานหัตถศิลป์ หน่วยงาน พันธมิตรของ SACICT จะร่วมมือกันอนุรักษ์ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมของไทย และช่วยกันส่งเสริม งานหัตถศิลปไทยให้เกิดการยอมรับและใช้งานในระดับสากลต่อไป” นายวีรศักดิ์กล่าว