หน้าแรก news ปชป. แนะ ทุกฝ่าย ยึดหลักศึกษาแก้ไข รธน. ให้เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เตือน อย่าโต้เถียงจนขัดแย้งทางการเมือง

ปชป. แนะ ทุกฝ่าย ยึดหลักศึกษาแก้ไข รธน. ให้เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เตือน อย่าโต้เถียงจนขัดแย้งทางการเมือง

0
ปชป. แนะ ทุกฝ่าย ยึดหลักศึกษาแก้ไข รธน. ให้เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เตือน อย่าโต้เถียงจนขัดแย้งทางการเมือง
Sharing

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายราเมศ  รัตนะเชวง  โฆษกพรรคประชาธิปัตย์   กล่าวถึงกรณีญัตติขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาแนวทางทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ประเด็นดังกล่าวขอให้ทุกฝ่ายอย่าโต้เถียงกันจนเป็นประเด็นขัดแย้งในทางการเมือง แต่ควรยึดหลักให้ได้ว่าหลักที่สำคัญที่จะเดินไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบมากขึ้น  ประชาชนประเทศชาติได้ประโยชน์เราจะมาช่วยกันอย่างไรให้ไปถึงจุดนั้น   แน่นอนว่าพรรคการเมือง รัฐบาล รัฐสภา ก็จะเป็นหลักในการขับเคลื่อน เมื่อขณะนี้มีญัตติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ยังไม่ได้เข้าสู่การแก้ไข แต่เป็นการตั้งคณะกรรมาธิการมาเพื่อศึกษา  อย่าให้เสียหลักตั้งแต่เริ่มตั้งต้น  มีส่วนไหนที่ควรนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อกำหนดทิศทาง  ส่วนไหนของรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย  ส่วนไหนที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ  ส่วนไหนที่ควรกำหนดไว้ให้เป็นสิทธิของประชาชนกลับคืนมา  การแก้ไขที่กำหนดให้เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากทำอย่างไรที่จะทำเป็นการแก้ไขโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภา  ก็จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี คนที่มีความสามารถ คิดดี ทำดี มีแง่มุม มีประสบการณ์ ปราศจากอคติทั้ง 4 คิดโดยยึดหลักเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศ ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยผ่านกลไกการเสนอของพรรคการเมือง หรือ รัฐบาล

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวย้ำว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองแรกที่ชูธงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  กำหนดเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมรัฐบาล จนนำไปสู่การกำหนดไว้เป็นนโยบายของรัฐบาล  มีหลักการคิดเพื่อประโยชน์ของประเทศเพื่อระบบประชาธิปไตยที่ดีขึ้นมีความชัดเจนมาตั้งแต่ต้น และล่าสุดมติที่ประชุม ส.ส. ก็ชัดเจนว่าสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ และพร้อมสนับสนุน  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  อดีตหัวหน้าพรรคฯ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว  แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมติที่ประชุม ส.ส.ก็ให้วิปของพรรคไปพูดคุยกับวิปรัฐบาล  พรรคร่วม และพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อได้ข้อหารือความเห็นพ้องต้องกันว่าทุกพรรคการเมืองจะมีแนวทางอย่างไร  ผลเป็นเช่นใด วันอังคารที่จะถึงนี้ก็จะมีการกลับมารายงานก็ว่ากันไป  ตามมติที่ประชุม ส.ส.พรรค มีกลไกเหล่านี้อยู่  ท้ายที่สุดก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภา


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่