หน้าแรก news “เครือข่ายผู้บริโภค” ประณาม พปชร.-ปชป. ที่เห็นแก่บริษัทสารเคมีมากกว่าผู้บริโภค พร้อมเสนอให้ผ่าตัดโครงสร้างกระทรวงเกษตรฯ

“เครือข่ายผู้บริโภค” ประณาม พปชร.-ปชป. ที่เห็นแก่บริษัทสารเคมีมากกว่าผู้บริโภค พร้อมเสนอให้ผ่าตัดโครงสร้างกระทรวงเกษตรฯ

0
“เครือข่ายผู้บริโภค” ประณาม พปชร.-ปชป. ที่เห็นแก่บริษัทสารเคมีมากกว่าผู้บริโภค พร้อมเสนอให้ผ่าตัดโครงสร้างกระทรวงเกษตรฯ
Sharing

เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเยาวชนสร้างเสริมสุขภาพ ไทยแพน ประณามพรรคพลังประชารัฐและประชาธิปัตย์ที่เห็นแก่บริษัทสารเคมีมากกว่าผู้บริโภค พร้อมเสนอให้ผ่าตัดโครงสร้างกระทรวงเกษตรให้มีกรมสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน รวมทั้งเรียกร้องให้มีการแสดงฉลากให้ผู้บริโภคมีสิทธิในการเลือกสินค้าเกษตร ผักผลไม้และอาหารที่มีการใช้สารเคมีอย่างชัดเจน

(28พ.ย.62) เครือข่ายผู้บริโภค ออกแถลงการณ์ กรณีคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติเลื่อนการแบนสารเคมีทางการเกษตร ระบุว่า ​ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้กลับมติของตนเองให้ชะลอการเพิกถอนทะเบียนพาราควอตและคลอไพริฟอส ไปอีก 6 เดือน และยกเลิกการเพิกถอนทะเบียนสารไกลโฟเสตให้อยู่ในระดับเพียงจำกัดการใช้ สะท้อนให้เห็นถึง ความไม่คงเส้นคงวาไม่มีหลักวิชาการของคณะกรรมการวัตถุอันตราย พรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ที่เลือกข้างบริษัทสารเคมี

​เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ขอประนามการตัดสินใจที่ไม่ยืนเคียงข้างสุขภาพผู้บริโภค เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม ประเด็นเรื่องสารเคมีไม่ใช่สิทธิของเกษตรกรในการใช้สารเคมีแต่ฝ่ายเดียว แต่เป็นสิทธิของผู้บริโภคที่ต้องได้รับความปลอดภัยและมีสิทธิในการเลือกซื้อสินค้าที่ได้รับการคุ้มครองมามากกว่า 40 ปี จากผลการทดสอบเมื่อเดือนที่ผ่านมาของนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบการตกค้างสารเคมีมากถึง 13 ชนิด และสูงถึง 60% ในน้ำส้มสดและน้ำส้ม 100% จำนวน 30 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจจากท้องตลาด

ขอเรียกร้องกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังนี้
1. ผลักดันให้สินค้าเกษตรทั้งผักและผลไม้ มีการระบุ แหล่งที่มาของสินค้า(Food Origin) และกระบวนการผลิตว่า มีการใช้สารเคมีอันตรายหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกและได้รับความปลอดภัยอันเป็นการคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค รวมทั้งเกษตรกรที่ยังยืนยันถึงความจำเป็นในการใช้สารเคมีขอให้ระบุสินค้าเกษตรของตนว่า กระบวนการผลิตมีการใช้สารเคมีอันตรายเหล่านี้
2. ผ่าตัดโครงสร้างของกระทรวงเกษตรให้มีหน่วยงานระดับกรม เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ ตามรายงานและข้อเสนอของสภาผู้แทนราษฎรที่มีมติเอกฉันท์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในการยกเลิกสารเคมี 3 ชนิดนี้ และเดินหน้าปรับเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนให้ได้ 100% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดภายในปีพ.ศ. 2573
3. สนับสนุนให้ลดภาษีเครื่องจักรกลทางการเกษตรและสนับสนุนให้เกษตรกร ยืมเครื่องจักรกลใช้งานแทนการใช้สารเคมี
4. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ปรับปรุงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้ระบุสารเคมีที่ใช้ในทางการเกษตรให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามหลักเกณฑ์การแสดงฉลากอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่