หน้าแรก news “สิระ” เตรียมชงคดี “คิด เดอะริปเปอร์”เข้า อนุ กมธ.ยุติธรรม หลังกรมราชทัณฑ์ พลาดปล่อยฆาตกรต่อเนื่อง จนก่อเหตุสะเทือนขวัญซ้ำ

“สิระ” เตรียมชงคดี “คิด เดอะริปเปอร์”เข้า อนุ กมธ.ยุติธรรม หลังกรมราชทัณฑ์ พลาดปล่อยฆาตกรต่อเนื่อง จนก่อเหตุสะเทือนขวัญซ้ำ

0
“สิระ” เตรียมชงคดี “คิด เดอะริปเปอร์”เข้า อนุ กมธ.ยุติธรรม หลังกรมราชทัณฑ์ พลาดปล่อยฆาตกรต่อเนื่อง จนก่อเหตุสะเทือนขวัญซ้ำ
Sharing

นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีการกระทำผิดซ้ำของฆาตกรต่อเนื่อง นายสมคิด พุ่มพวง หรือ “สมคิด เดอะริปเปอร์” หลังได้รับการปล่อยตัวจากกรมราชทัณฑ์ว่า จะนำปัญหากระบวนการกลั่นกรองเพื่อพิจารณาลดโทษของกรมราชทัณฑ์เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม โดยเห็นว่าควรต้องมีการสังคายนาครั้งใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดการลดโทษผิด ปล่อยตัวพลาดจนนำไปสู่โศกนาฏกรรมเหมือนที่เกิดขึ้นกับเหยื่อรายล่าสุด ทั้งนี้ตนเห็นว่านักโทษที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ซึ่งศาลตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ควรมีมาตรการพิจารณาลดโทษที่เข้มงวดกว่านักโทษปกติ ไม่เช่นนั้นจากโทษประหารชีวิตติดคุกไม่กี่ปีก็ได้ออกมาใช้ชีวิตปกติแล้ว เช่นกรณีนายสมคิดฆ่าคนไปถึง 5 ราย ศาลตัดสินจำคุกทั้ง 5 คดี แต่กลับติดคุกเพียง 14 ปี และเมื่อพ้นโทษยังก่อเหตุสะเทือนขวัญซ้ำอีก ถือเป็นอุทธาหรณ์ที่กรมราชทัณฑ์ต้องปรับปรุงกระบวนการพิจารณาลดโทษโดยด่วน

“ผมจะเสนอที่ประชุมให้พิจารณากระบวนการลดโทษของกรมราชทัณฑ์ทั้งหมด ไม่ใช่ตั้งเกณฑ์หลวม ๆ ว่าถ้าประพฤติดีในเรือนจำแล้วต้องได้ลดโทษเท่ากัน แต่ควรมีหลักเกณฑ์ที่เข้มข้นสำหรับจำเลยที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ รวมถึงการนับโทษในแต่ละคดีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมหลายวาระ ไม่ควรนับแบบเหมารวม จนทำให้ได้รับการลดโทษอย่างรวดเร็ว แต่ต้องให้ได้รับโทษที่เหมาะสมกับการกระทำความผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องลงในรายละเอียดของเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาใหม่ และในกรณีของนายสมคิดต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยว่ากระบวนการพิจารณามีตรงไหนที่ผิดพลาดหรือไม่ ไม่ควรจบแค่คำขอโทษของพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์เท่านั้น แต่ส่วนไหนที่ย่อหย่อนผิดพลาดต้องรับผิดชอบด้วย” นายสิระ กล่าว

นายสิระ กล่าวต่อว่า คำพิพากษาของศาลเล็งเห็นว่า พฤติกรรมของนายสมคิดมีการกระทำผิดซ้ำซาก จึงตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ซึ่งการที่กรมราชทัณฑ์ไปลงหย่อนให้นายสมคิด ถือว่าเป็นเรื่องที่น้อนแย้งกลับเจตนารมณ์ของศาลหรือไม่ จากนี้ไปกรมราชทัณฑ์ควรที่จะพิจารณาประเด็นนี้ให้รอบคอบ เพราะเมื่อเกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในสังคม มันไม่สามารถหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่