หน้าแรก news “นักวิชาการ” ชี้ รธน.แก้ได้แค่รายมาตรา และประชาชนไม่ได้ประโยชน์เต็มที่

“นักวิชาการ” ชี้ รธน.แก้ได้แค่รายมาตรา และประชาชนไม่ได้ประโยชน์เต็มที่

0
“นักวิชาการ” ชี้ รธน.แก้ได้แค่รายมาตรา และประชาชนไม่ได้ประโยชน์เต็มที่
Sharing

รศ.ยุทธพร อิสรชัย รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช เปิดเผยผ่านรายการริงไซด์การเมืองว่า การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของสภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้หมายความว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว โจทก์ใหญ่ที่คณะกรรมาธิการ ต้องหาคำตอบ คือ  1 .ควรมีการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งมีคำตอบตามชื่อของกรรมาธิการอยู่แล้ว ส่วนที่สองคือจะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 256  หรือ ตั้ง สสร.ขึ้นมาพิจารณาซึ่งอันนี้จะเป็นปัญหา เพราะไปเปลี่ยนวิธีการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องทำประชามติก่อน และส่วนที่สาม คือจะแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา  หรือแก้ทั้งฉบับตามวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

เมื่อกรรมาธิการศึกษาเสร็จแล้วจะนำผลการศึกษา ไปรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินว่า จะเห็นชอบตามที่กรรมาธิการศึกษาฯมาหรือไม่  หากสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบก็ดำเนินการต่อ ด้วยการเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภาตามมาตรา 256    หากสภาผู้แทนราษฎร ไม่เห็นด้วย  ญัตติก็ตกไป  กรรมาธิการก็สลายตัว

รศ.ยุทธพร เห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยใช้กลไกรัฐสภา ตามปกติ  จะมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่า วิธีการอื่น   แม้จะไม่ใช่วิธีการที่ดี เนื่องจาก รัฐธรรมนูญมีความเชื่อมโยงทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในหลายมิติ การแก้ไขบางส่วนอาจจะทำให้สะดุด  และไม่ได้ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม  คล้ายการแก้ไขเรื่องระบบปาร์ตี้ลิสต์ในรัฐธรรมนูญ ปี50 ซึ่งเป็นการแก้ปัญหา ให้นักการเมือง โดยที่ประชาชน ไม่ได้ประโยชน์อะไร


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่