ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการ กศน.WOW WOW ก้าวสู่ยุคดิจิทัล และการขับเคลื่อนการดำเนินงานของการศึกษาเอกชน ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย ดร.พะโยม ชิณวงศ์ ประธานคณะทำงาน รมช.ศึกษาธิการ นายนรา เหล่าวิชยา รองเลขาธิการ กศน. นายกวินทร์เกียรติ นนท์พละ รองเลขาธิการ สช. นายจิตรภณ ทิพย์โภคาสกุล คณะทำงาน รมช.ศธ. และคณะทำงาน รมช.ศธ. โดยมี นายเกรียงวิชญ์ เตชวิทยไวทิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายลือชัย ชูนาคา ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก และนายอนันต์ คงชุม ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก คณะครู นักเรียนนักศึกษา และบุคลากรสังกัด กศน. และ สช. ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศธ.กล่าวตอนหนึ่งว่า “ ตลอดระยะเวลาของการทำงานกว่า 5 เดือนที่ผ่านมา ตนพยายามลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ลุยในทุกพื้นที่ เพื่อต้องการมาให้เห็นสภาพการทำงาน และรับฟัง รับรู้ปัญหา ความต้องการต่าง ๆ ของพื้นที่ แบบตาต่อตา ใจถึงใจ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไข เพื่อ”ทลายทุกข้อจำกัดทางการศึกษา” ให้ได้มากที่สุด
ผลงานในหลายๆด้าน คงสะท้อนให้เห็นแล้วว่า รัฐมนตรีคนนี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำงานอย่างสุดกำลังความสามารถ ด้วยความเข้าใจในบริบทของงานที่รับผิดชอบทั้ง 3 ส่วน ทั้งงานการศึกษาเอกชน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และงานลูกเสือ รวมทั้งพยายามที่จะเชื่อมโยงงานทั้ง 3 ส่วน เพื่อช่วยเติมเต็มการพัฒนาซึ่งกันและกัน ซึ่งนับว่าเป็นมิติที่ดีของการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ
ซึ่งจากการลงพื้นที่ในวันนี้ รู้สึกประทับใจและขอชื่นชมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงาน กศน.พิษณุโลก ที่สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนการจัดศึกษาในทุกช่วงวัย โดยใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนและเพิ่มทักษะไปสู่ กศน.ยุคดิจิทัล ทำให้สามารถพลิกบทบาทตนเองไปสู่การจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่ขยายผลสู่ กศน.อำเภอ และ กศน.ตำบล เพื่อจัดการเรียนรู้แก่เด็กนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยมีการทบทวนความรู้เรื่องการใช้Appication จาก Google การสร้างคลังข้อสอบออนไลน์ผ่าน Google Form การสร้าง QR Code เพื่อเปลี่ยนหนังสือเรียนเป็นรูปแบบหนังสือออนไลน์ การอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมของครู กศน.ต้นแบบ 5 ดีพรีเมี่ยม จำนวน 9 แห่ง เพื่อเป็น กศน.ตำบล นำร่องในการเรียนรู้แบบห้องเรียนออนไลน์ มีนักศึกษาเข้าร่วมเรียนและทดสอบระบบการเรียนรู้ออนไลน์ จำนวนถึง 450 คน ทำให้สามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีได้ทุกรูปแบบ เช่น คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แท็บแล็ต มือถือ และสมาร์ทโฟน เพื่อเป็นการขยายผลสู่ กศน.ตำบล ทุกแห่งในพื้นที่ จังหวัดพิษณุโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 นี้อีกด้วย นับเป็นจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติอย่างแท้จริง “
ในส่วนของการจัดการศึกษาเอกชนนั้น ก็มีการเริ่มใช้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชน จากได้รับสิทธิ์ไม่เกินคนละ 100,000 บาทต่อคนต่อปี มาเป็น 150,000 บาทต่อคนต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมาเป็นต้นไป และได้ผลักดันการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวของนักเรียนโรงเรียนเอกชน เนื่องจากไม่ได้ปรับเงิน อุดหนุนรายหัวมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีแนวคิดในทิศทางเดียวกันกับสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษากาลังศึกษาแนวทางและจะเสนอต่อระดับนโยบายและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ฝากในเรื่องของการหักเงินครู 3% ให้ทางโรงเรียนเอกชนนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อจะได้ ดอกเบี้ยกลับมาเป็นสวัสดิการให้กับครูเอกชนต่อไป ภายใต้การทำงาน ตนก็อยากให้เกิดความโปร่งใส ความเป็นธรรม และความมีจิตใจอันเป็นเมตาที่เอื้ออารีต่อครูเอกชน เพราะเมื่อได้ทราบปัญหาว่าโรงเรียนเอกชนไม่ได้รับงบประมาณในช่วงเดือนกันยายน จึงได้จัดสรรงบประมาณเหลือจ่ายในปีงบประมาณ 2562 ให้ สช. ในส่วนของการพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนตามนโยบาย รัฐบาลในเรื่องของการจัดการเรียนรู้รายวิชา Coding และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งได้จัดอบรมไปเรียบร้อยแล้ว และขอชื่นชมครูเอกชนในเรื่องของการเข้าร่วมอบรมที่มีความใส่ใจ สนใจ และตั้งใจในการพัฒนาตนเองเป็นอย่างดี เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ในส่วนการเดินทางเข้าร่วมอบรมของครูเอกชนที่อยู่พื้นที่สูง พื้นที่ห่างไกลให้เพิ่มการดูแลเป็นพิเศษ ให้โอกาสครูได้รับการอบรมให้ได้เท่าเทียมกันมากที่สุด
นอกจากนี้จะดำเนินการผลักดันการอบรมของผู้บริหารเอกชน โดยจะใช้สถานที่ของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยเน้นความประหยัดและมีคุณภาพ และในปีนี้จะมอบนโยบายนอกจากนี้จะดำเนินผลักดันการอบรมของผู้บริหารเอกชน โดยจะใช้สถานที่ของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยเน้นความประหยัดและมีคุณภาพ และในปีนี้จะมอบนโยบายให้สช.จัดแข่งขันทักษะวิชาการทั่วประเทศโดยให้ส่งเสริมและพัฒนาเด็กที่มีผลการเรียนระดับกลาง ๆ ที่มีเกรดเฉลี่ย 2.2 ลงมา เข้าร่วมแข่งขันทักษะวิชาการ
จากนั้นได้พบปะพูดคุยกับผู้บริหารและครูในสังกัดสํานักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก และครูการศึกษาเอกชน ซึ่งได้เน้นย้ำกับครูและบุคลากร กศน. ว่า “ต้องแสดงให้เห็นถึงบทบาทในการจัดการศึกษาทุกช่วงวัยอย่างมีคุณภําพ สร้างต้นแบบ (Idol) ของ กศน. โดยในการจัดกิจกรรม หรือจัดนิทรรศการ อาจจะเชิญ โรงเรียนในพื้นที่หรือประชาชนทั่วไปเข้ารับชม อีกทั้ง กศน. ต้องสนับสนุนให้เด็กเข้าศึกษําในระบบการศึกษาปกติก่อน หากเด็กไม่สามารถเรียนได้หรือมีความจำเป็นก็ให้มาเรียนที่ กศน.” รมช.ศธ กล่าว
ข่าว : เอื้อมพร สุเมธาวัฒนะ กรรณิกา พันธ์คลอง