นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ได้สั่งการให้ศูนย์ปราบปรามอาชญกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร)และ บก.ปอท. ดำเนินการสืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องสงสัยปล่อยข่าวปลอมเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งหมด 7 จุด คือ
จุดแรก น.ส.กิตติลักษณ์ ฯ ได้ใช้ทวิตเตอร์ จ๋า สตอรี่ โพสต์ว่า “อุดรธานีมีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 จำนวน 5 ราย” ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม พบว่าอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
จุดที่สอง นายสาโรจน์ ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก สาโรจน์ขอเป็นข้า รองพระบาททุกชาติไป โพสต์ว่า “ประกาศพื้นที่เสี่ยง COVID-19 ทั้ง 11 คนไปมาล่าสุด” ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม พบว่าอยู่ในพื้นที่ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
จุดที่สาม น.ส.ณัจฉรียา ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก Amily Amy โพสต์ว่า “อุดรธานีมีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 จำนวน 5 ราย” ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม พบว่าอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
จุดที่สี่ นายอัครนันท์ ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก Akaranan Jene Taewsraku โพสต์ว่า “พบนักเรียนติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 15 คน ที่โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่” ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม พบว่าอยู่ในพื้นที่ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
จุดที่ห้า นางฐิติทิพย์ ฯ ได้โพสต์ในเว็บไซต์ OKNATION ว่า “ประกาศพื้นที่เสี่ยง COVID-19 ทั้ง 11 คนไปมาล่าสุด” ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม พบว่าอยู่ในพื้นที่โชคชัย 4 กรุงเทพมหานคร
จุดที่หก น.ส.ศิริรัตน์ ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก Sirirat Nurat โพสต์ว่า “สธ.จัดโซนอันตรายติดเชื้อ COVID-19” ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม พบว่าอยู่ในพื้นที่ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
จุดที่เจ็ด นายวชิรากร ฯ ได้ใช้เฟสบุ๊ก โพสต์ว่า “ประกาศพื้นที่เสี่ยง COVID-19 ทั้ง 11 คนไปมาล่าสุด” ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม พบว่าอยู่ในพื้นที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
รมว.ดีอีเอส กล่าวอีกว่า ข่าวปลอมในช่วงไวรัส COVID-19 ส่วนใหญ่มาจากการได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง เรารณรงค์ขอประชาชนไม่แชร์ต่อหากไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ ส่วนคนที่ตั้งใจทำข่าวปลอม มีการตามจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายทุกราย