หน้าแรก news “วีรศักดิ์” ยกระดับสินค้าชุมชน ประกาศขึ้นทะเบียน “ผ้าหม้อห้อมแพร่” และ “กล้วยหอมทองปทุม” เป็นสินค้า GI เพิ่มมูลค่า ฝ่าวิกฤตโควิด-19

“วีรศักดิ์” ยกระดับสินค้าชุมชน ประกาศขึ้นทะเบียน “ผ้าหม้อห้อมแพร่” และ “กล้วยหอมทองปทุม” เป็นสินค้า GI เพิ่มมูลค่า ฝ่าวิกฤตโควิด-19

0
“วีรศักดิ์” ยกระดับสินค้าชุมชน ประกาศขึ้นทะเบียน “ผ้าหม้อห้อมแพร่” และ “กล้วยหอมทองปทุม” เป็นสินค้า GI เพิ่มมูลค่า ฝ่าวิกฤตโควิด-19
Sharing

​นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า
“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายภาคส่วนได้รับผลกระทบอย่างมาก กระทรวงพาณิชย์จึงได้เร่งดำเนินการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อคุ้มครองชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิเฉพาะของชุมชน การรักษามาตรฐานของสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาและคุณภาพของสินค้า รวมถึงช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถผลิตได้เฉพาะท้องถิ่น”

นายวีรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้า GI 2 รายการ ได้แก่ ผ้าหม้อห้อมแพร่ และกล้วยหอมทองปทุม ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI แล้ว 120 รายการ จาก 76 จังหวัด สำหรับสินค้า GI 2 รายการล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ กล่าวคือ คือ ผ้าหม้อห้อมแพร่
ซึ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ที่ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ
ทำให้เกิดลวดลายด้วยการมัดย้อม การจุ่ม หรือการพิมพ์ลายด้วยภูมิปัญญาการก่อหม้อห้อมที่ใช้ใบและ
ต้นห้อมที่ปลูกในจังหวัดแพร่ ทำให้ผ้าทอและเสื้อผ้าที่ผ่านการย้อมมีเฉดสีฟ้าถึงสีน้ำเงินเข้ม มีกลิ่นหอม
ตามธรรมชาติ ซึ่งผลิตขึ้นในพื้นที่จังหวัดแพร่ ที่หลายท่านรู้จัก และสำหรับ “กล้วยหอมทองปทุม”
เป็นกล้วยหอมทองที่มีผลใหญ่ยาว หน้าตัดค่อนข้างกลม ปลายคอดเล็กน้อย ผิวนวล เปลือกบาง ผลดิบ
สีเขียวนวล ผลสุกสีเหลืองทองนวล เนื้อเหนียวแน่นรสชาติหอมหวาน ปลูกในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี”

​ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินงานในด้านการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าในสินค้าชุมชนนั้น กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เตรียมผลักดันให้สินค้า GI พัฒนาไปสู่ตลาดและผู้บริโภค
ที่แพร่หลาย เพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับสินค้า GI ที่มีความหลากหลาย ทั้งสินค้าเกษตรกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) ซึ่งต้องใช้ความพยายาม ความมุ่งมั่น และการร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อนำสินค้าชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หาที่อื่นไม่ได้ ไปสู่สินค้าที่มีคุณค่าและมูลค่า โดยตั้งเป้าหมายในการส่งเสริมสินค้า GI ไปสู่กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าทางการตลาดมากกว่ากลุ่มสินค้าที่ขึ้นทะเบียนเพื่อการอนุรักษ์ และเพิ่มเติมการจัดทำระบบควบคุมสินค้า GI ให้เข้มข้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

 


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่