หน้าแรก news กนกวรรณ รมช.ศธ. เดินหน้าชูธงดันห้องสมุดมีชีวิต เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทุกมิติอย่างยั่งยืน

กนกวรรณ รมช.ศธ. เดินหน้าชูธงดันห้องสมุดมีชีวิต เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทุกมิติอย่างยั่งยืน

0
กนกวรรณ รมช.ศธ. เดินหน้าชูธงดันห้องสมุดมีชีวิต เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทุกมิติอย่างยั่งยืน
Sharing

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนและติดตามภารกิจ กศน. ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ณ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอย่านตาขาวจังหวัดตรัง

ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศธ. เปิดเผยว่า “ หัวใจหลักที่สำคัญอีกด้านหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับคนทุกช่วงวัย คือ การปลูกฝังส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการแสวงหาความรู้ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสม ทันสมัย รวมทั้งให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกระจายความรู้ และเป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะที่ง่ายในการเข้าถึง และสะดวกในการใช้เพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิต
ซึ่งขอชื่นชมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่นี่ ที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจัดกิจกรรมการอ่านให้นักเรียนนักศึกษาประชาชนสามารถอ่านและเรียนรู้อย่างถูกต้องและเหมาะสมทุกช่วงวัย เช่น การนำสรุปแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอและจังหวัดมาออกแบบติดไว้บนโต๊ะอ่านในหนังสือ การจัดทำฐานข้อมูลหนังสือและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ผ่านคิวอาร์โค้ดและการจัดทำเป็น E-Book ให้ประชาชนสามารถศึกษาผ่านสมาร์ทโฟนได้เช่นกัน

ดังนั้นห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้จะมีชีวิตได้ ควรจะต้องปรับวีธีการในกระบวนการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนอยากเข้ามาเรียนรู้อยู่เสมอ ด้วยการจัดกิจกรรมนำความรู้ เช่น จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดย สร้างแรงบันดาลใจจากหนังสือในดวงใจ หรือ แนวคิดของผู้ที่มีชื่อเสียง หรือ ผู้ที่คนในพื้นที่ให้ความนับถือ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือบุคคลที่เป็นต้นแบบและที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เป็นต้น ผ่านสื่อออนไลน์และออฟไลน์หรือมุมนิทรรศการ รวมถึงการจัดโซนส่งเสริมการเรียนรู้และหนังสือสำหรับผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชนเป็นการเฉพาะเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน สำหรับการจัดสื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ในห้องอาเซียนศึกษานั้น นอกจากจะมีข้อมูล เนื้อหาให้ศึกษาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนแล้ว ก็ควรมีทั้งภาคภาษาไทยและภาคอังกฤษ

โดยเฉพาะสื่อเพื่อคนพิการนั้น ปัจจุบันพบว่าในหลายๆแห่งจะมีเพียงสื่อสำหรับคนตาบอดในรูปหนังสือเบรล์ลเท่านั้น จีงได้มอบหมายให้ห้องสมุดประชาชนฯ จัดให้มีสื่อหนังสือเสียงอิเลคทรอนิกส์ ที่มีความน่าสนใจต่อการเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะนอกจากจะเอื้อต่อผู้พิการทางสายตาแล้ว ยังเป็นการรองรับสำหรับผู้ใช้บริการในทุกช่วงวัย ซึ่งตรงนี้ ตนก็จะผลักดันในเรื่องครูสอนคนพิการ กศน.ให้มีความมั่นคงในการทำงานต่อไปในอนาคตอีกด้วย เพราะการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต้องสามารถตอบโจทย์ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ซึ่งตนก็จะผลักดันและสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมาย”คำไหน คำนั้น จริงใจและยั่งยืน”

นอกจากนี้ได้มอบหมายให้สำนักงาน กศน.สำรวจความต้องการของผู้เรียนและผู้ใช้บริการในห้องสมุด และสถานศึกษา ในสังกัด กศน.ทั่วประเทศ ที่มีต่อการเรียนรู้ด้านสื่อการศึกษาผ่านการออกอากาศทางช่องทีวีดิจิทัล ช่อง52 และช่อง ETV. เพื่อให้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการผลิตและจัดทำสื่อให้บริการให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่จำเป็นในปัจจุบันอย่างแท้จริงต่อไป “ ดร.กนกวรรณ รมช.ศธ.กล่าว

ข่าว : เอื้อมพร สุเมธาวัฒนะ กรรณิกา พันธุ์คลอง
ภาพ : ปรานี บุญยรัตน์ ณัฐวุฒิ วากะดวน


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่