หน้าแรก Article ทรัมป์-คิม และไทย กลยุทธ์ฝ่าวิกฤติความขัดแย้ง “ความเหมือนที่แตกต่าง”

ทรัมป์-คิม และไทย กลยุทธ์ฝ่าวิกฤติความขัดแย้ง “ความเหมือนที่แตกต่าง”

0
ทรัมป์-คิม และไทย กลยุทธ์ฝ่าวิกฤติความขัดแย้ง “ความเหมือนที่แตกต่าง”
Sharing

ผ่านพ้นไปด้วยดี กับบรรยากาศสุดชื่นมื่น ปรากฏภาพมือไม้ปลายนิ้วสัมผัสระหว่าง 2 ผู้นำสะเทือนโลก นายโดนัลด์ ทรมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และนายคิม จอง อึน ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ ณ โรงแรมคาเพลลา เกาะเซนโตซา ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมาพร้อมกับข้อตกลง 4 ข้อ ที่ทั่วโลก ต้องจับตามอง ประกอบไปด้วย

ข้อ 1 – สหรัฐและเกาหลีเหนือให้คำมั่นว่าจะสร้างความสัมพันธ์ใหม่ตามความปรารถนาของประชาชนทั้ง 2 ประเทศเพื่อสันติภาพ และความรุ่งเรือง

ข้อ 2 – สหรัฐและเกาหลีเหนือจะร่วมกันสร้างระบอบสันติที่ยั่งยืนและมั่นคงบนคาบสมุทรเกาหลี

ข้อ 3 – ยืนยันตามปฏิญญาปันมุมจอมวันที่ 27 เม.ย. 2561 เกาหลีเหนือให้คำมั่นว่าจะเดินหน้าปลดนิวเคลียร์คาบสมุทรเกาหลีอย่างสมบูรณ์

ข้อ 4 – สหรัฐและเกาหลีเหนือให้คำมั่นว่าจะค้นหาร่างเชลยสงครามและหรือทหารที่สูญหายขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งเร่งส่งคืนร่างที่พบแล้ว(ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ)

กว่าการประชุมสุดยอดครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ สหรัฐอเมริกาทั้งขู่ทั้งปลอบมาตลอด 2 ปีหลังสุด หรือนับตั้งแต่โดนัล ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งช่วงปลายปี 2559

ทรัมป์ทราบดีว่า การได้ตั้งโต๊ะเจรจากับคิม คือความสำเร็จของรัฐบาลทรัมป์ เพราะต้องยอมรับว่าคนสหรัฐ จำนวนไม่น้อยอกสั่นขวัญแขวนกับท่าทีปรปักษ์ของเกาหลีเหนือ ทรัมป์จึงหาทางทำให้การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยการเปิดฉากกดดันเกาหลีเหนือ

สหรัฐสบโอกาส หลังจากที่เกาหลีเหนือยาตราทัพประชิดเกาหลีใต้ จากนั้นสหรัฐได้ชวนให้นานาชาติคว่ำบาตรเกาหลีเหนืออย่างหนัก เริ่มต้นจากสหภาพอียู แม้กระทั่งจีน และรัสเซีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหามิตรของเกาหลีเหนือ ก็ต้องยอมทำตาม ด้วยเพราะเสมือนเป็นมติของนานาชาติ

การกดดันครั้งนี้ ส่งผลให้การขนส่งพลังงานถึงเกาหลีเหนือลดลงถึง 90% นับเป็นความสำเร็จที่น่าพึงพอใจสำหรับสหรัฐ ขณะที่แรงงานเกาหลีเหนืออีกนับหมื่นคนถูกส่งกลับประเทศ รวมถึงนักการทูตระดับต่างๆ ที่แลกมาด้วยการตอบโต้ของคิม จอง อึน ซึ่งทำการทดลองยิงจรวดพิสัยไกล และทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในมหาสมุทร

อย่างไรก็ดี คงมีแต่ภาพข่าวเท่านั้น เพราะทรัมป์ และสหรัฐฯ หาได้สนใจกับการ “ไฟท์ แบ็ก” ของเกาหลีเหนือแต่อย่างใด ขณะที่สื่อสหรัฐ ที่อยู่ข้างทรัมป์ ส่วนใหญ่เป็นสื่ออนไลน์ และสื่อท้องถิ่น เดินเครื่องดิสเครดิทเกาหลีเหนืออย่างเต็มที่ โดยเฉพาะประเด็น “ความไม่มีอยู่จริงของระเบิด “ไฮโดรเจนบอมบ์” ซึ่งเกาหลีเหนืออ้างว่าเป็นความสำเร็จสูงสุด เพราะมีพลังทำลายมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ทั่วไป

กลับมาที่กรุงวอร์ชิงตัน ว่ากันว่า กาวประสานใจระหว่างทรัมป์ กับคิม คืออดีตนักบาสเก็ตบอลชื่อดัง “เดนิส ร็อดแมน” เพราะเจ้าของตำแหน่งพาวเวอร์ฟอร์เวิร์ดแห่งทีมชิคาโก บูลล์ รายนี้ เป็นขวัญใจของ “คิม” ชนิดที่ทั้งคู่เคยเจอกันมาแล้ว

ขณะเดียวกัน มีข่าวว่า “ร็อดแมน” เคยเข้าทำเนียบขาวเพื่อวางแผนจับ “คิม” มานั่งโต๊ะ ก่อนจะทำให้ทางสหรัฐทราบว่า “คิม จอง อึน” นั้น หาได้มีความเกรี้ยวกราดต่อระบบจักวรรดินิยมอเมริกาเหมือนบรรพบุรุษตระกูลคิมคนก่อนหน้า เพราะ คิม จอง อึน แอบปลื้ม “ความเป็นสหรัฐ” ทั้งภาพยนตร์ และกีฬา จุดนี้ทำให้สหรัฐรู้สึกว่ามีความหวังในการพูดคุย

กระทั่งช่วงปลายปี 2560 สหรัฐฯ ชัดเจนแล้วว่า เกาหลีเหนือกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เพราะ ที่เกาหลีเหนือไม่มีการทดลองอาวุธนานกว่า 2 เดือน สะท้อนว่าพลังงานสำรองของเกาหลีเหนือน่าจะร่อยหรอลงมาก เป็นดัชนีว่า ความเป็นอยู่ของประชาชนน่าจะมีปัญหาหนักไม่แพ้กัน แถมยังปรากฏข่าวผู้จ้องอพยพมาเกาหลีใต้มากยิ่งขึ้น

เพื่อลดการคว่ำบาตร สหรัฐจึงเสนอให้เกาหลีใต้เปิดเจรจากับเกาหลีเหลือ ครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยเป็นการพูดคุยเพื่อฟื้นความสัมพันธ์ แลกการนำเข้าอาหารและพลังงานบางส่วน

กระทั่งวันที่ 7 มีนาคม คณะผู้แทนของทั้ง 2 ชาติจึงได้มีโอกาสพบกัน ก่อนจะเป็นคิวของ คิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ พบกับ นายมุน แจ อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้  เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561

การเจรจาระหว่างสองฝ่ายมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การระงับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือและปูทางไปสู่การทำสัญญาสันติภาพระหว่างสองฝ่าย ยุติภาวะสงครามที่ยืดเยื้อมา 68 ปี

ทั้งนี้ การพูดคุยทั้งหมด เป็นไปเพื่อให้เกิดสุดยอดการเจรจาระหว่าง “ทรัมป์” กับ “คิม”

แต่กว่าจะถึงการพูดคุยวันที่ 12 มิถุนายน ตามเวลาประเทศไทย ปรากฏว่า “ทรัมป์” มีทีท่าจะล้มโต๊ะเจรจาหลังเงื่อนไขเบื้องต้น ให้เกาหลีเหนือทำลายอาวุธนิวเคลียร์ “ทั้งหมด” ทันที ถูกปฏิเสธ ทว่าสุดท้ายคณะเจรจาระหว่าง 2 ชาติ สามารถเคลียร์กันลงตัว

เมื่อตกลงกันว่าการพูดคุยรอบล่าสุด และเพิ่งประสบความสำเร็จไปนั้น จะเป็นเพียงก้าวแรก ในการลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี แทนที่จะเร่งลดให้เหลือ 0 ใน 24 ชั่วโมงตามข้อตกลงแรก

จนปรากฏภาพความชื่มมื่น และสันติภาพ ระดับโลก ที่เป็นข่าว

กลับมาที่ประเทศไทย

ฝ่ายการเมืองที่เลือกข้าง เลือกขั้ว ไปแล้ว ยังคงห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดในทุกมิติ เพราะต่างฝ่ายต่างเชื่อมั่นว่ายึดกุมความได้เปรียบบางส่วนอยู่

กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งกุมอำนาจ อีกฝ่ายกุมมวลชน หาได้มีฝ่ายไหนเพลี่ยงพล้ำ หรือชนะอย่างเด็ดขาด จำต้องแง่งงัดกันไปตราบจนจะรู้ผล ชนิดไม่มีการลดราวาศอก

ต่างกับสถานการณ์ระหว่างสหรัฐ กับเกาหลีเหนือ ซึ่งฝ่ายหลัง ถอยใกล้พิงฝา ฝ่ายแรกจึงเปิดเกมเจรจา ถือคดิ “เห็นต่าง อยู่ร่วมกันได้”

แต่สำหรับการเมืองไทย เมื่ออ่านจากประวัติศาสตร์อำมหิต ที่ผู้แพ้ ล้วนไม่มีแผ่นดินเหยียบ ทั้ง นายปรีดี จอมพล ป., นายทักษิณ, นางสาวยิ่งลักษณ์

เราอาจจะเห็นสิ่งที่ต่างออกไป

เพราะนอกจากจะไม่เจรจาแล้ว ยังจ้องบดขยี้ ไร้ที่ยืน

Ringsideการเมือง


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่