“ศปปส.-นักรบเลือดสีน้ำเงินฯ” บุกสภาฯ ร้อง “วันนอร์” ค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับก้าวไกล เกรงเอื้อ คนทำผิดม.112
วันที่ 11 ตุลาคม 2566 ที่รัฐสภา ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) พร้อมด้วย นักรบเลือดสีน้ำเงินปกป้องราชบัลลังก์ นำโดยนายอานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส. เข้ายื่นหนังสือถึงนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายเจษ อนุกูลโภคารัตน์ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงาน ประสานการเมืองและรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับยื่นหนังสือ
นายอานนท์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล พร้อมด้วยสส.ของพรรคก้าวไกล แถลงยื่นร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดอันเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ทางศปปส.และกลุ่มนักรบเลือดสีน้ำเงินปกป้องราชบัลลังก์ ได้ ฟังแถลงการณ์จากนายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แล้วรู้สึกคลางแคลงใจสงสัยในรายละเอียดบางประการ อาทิ การนิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทําความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทาง การเมือง ซึ่งหมายรวมถึงบุคคลซึ่งได้กระทําความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ม.112 ด้วยหรือไม่ เพราะ ในแถลงการณ์ดังกล่าวระบุแต่เพียงว่า “ไม่นิรโทษกรรมการกระทําผิดตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 113 นั่นย่อมให้เข้าใจได้ว่าบุคคลซึ่งได้กระทําความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงใน มาตราอื่นๆอาทิ การกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะได้รับการนิรโทษ กรรมตามร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับนี้ด้วยใช่หรือไม่
นายอานนท์ กล่าวต่อว่า นิยามของคําว่า “ผู้กระทําความผิดอันเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับนี้คืออะไร
พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับนี้ยังคลุมเครือระหว่าง“ผู้กระทําความผิดอันเนื่องจากการ ชุมนุมทางการเมือง” และ “ผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ม.112 ซึ่งต้องแยกออกจากกันให้ชัดเจน ดังนั้นในความคลุมเครือไม่ชัดเจนในเรื่องของ “ผู้กระทําความผิดอันเนื่องจากการชุมนุมทาง การเมือง” ที่พรรคก้าวไกลบรรจุอยู่ในร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับดังกล่าวอาจเหมารวมถึง “ผู้กระทําผิด เกี่ยวกับคดีมาตรา112 เข้าไปด้วย ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ในลักษณะ 1 ความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หมวด 1
ประธานศปปส. กล่าวอีกว่า คดีความมั่นคงไม่ใช่คดีทางการเมือง ในปัจจุบันนี้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากการจัดการชุมนุมในแต่ละครั้งตั้งแต่ปีพ.ศ.2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มักที่จะอ้างว่าเป็นการออกมาเรียกร้องทางการเมืองแต่ทุกครั้งที่ขึ้น ปราศรัยส่วนใหญ่แล้วจะปราศรัยหมิ่น,จาบจ้วง,ก้าวล่วง,โจมตี,ใส่ร้าย,กล่าวหาสถาบัน พระมหากษัตริย์ต่างๆนานา จึงเป็นที่มาของบรรดาผู้ชุมนุมที่ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษแจ้งความดําเนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ว่าจะเป็นแกนนําและหรือผู้ชุมนุมที่ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่มเยาวชนปลดแอก,กลุ่มราษฎร,กลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม,กลุ่มทะลุฟ้า,กลุ่มทะลุวัง รวมไปถึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หลายๆคนของพรรคก้าวไกล จึงเป็นข้อกังขา,ข้อสงสัยและข้อสันนิษฐานว่า นี้ หรือไม่ที่เป็นที่มาของการดันร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับดังกล่าว