หน้าแรก news “นักวิชาการ” วิเคราะห์มุมมองต่อ “13 หมูป่า” สะท้อนการแก้ปัญหาแบบไทยๆ ตั้งแต่ “ใช้ความกลัวเข้าควบคุม-พูดคุย-อวย”

“นักวิชาการ” วิเคราะห์มุมมองต่อ “13 หมูป่า” สะท้อนการแก้ปัญหาแบบไทยๆ ตั้งแต่ “ใช้ความกลัวเข้าควบคุม-พูดคุย-อวย”

0
“นักวิชาการ” วิเคราะห์มุมมองต่อ “13 หมูป่า” สะท้อนการแก้ปัญหาแบบไทยๆ ตั้งแต่ “ใช้ความกลัวเข้าควบคุม-พูดคุย-อวย”
Sharing

ผศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว  อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึงกรณีการช่วยเหลือ 13 ชีวิต ทีมหมูป่าอะคาเดมีว่า กรณีนี้สามารถตีความได้หลายอย่าง ส่วนตัวที่เห็นได้ชัดคือเห็นความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคไหน ประเทศไหน มันเห็นความเป็นมนุษย์ข้ามพรมแดนและอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้เห็นว่าแม้มีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ของบ้านเรา แต่เรายังรักกันอยู่  ซึ่งสอดคล้องกับผลโพลล่าสุดที่ออกมา

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลจากการสังเกตวิธีคิดของคนไทย ที่แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ซึ่งสะท้อนวิธีแก้ปัญหาของสังคมไทย ได้แก่ 1.13 คนนี้จะต้องโดนตี 2.ต้องคุยกันเพื่อทำความเข้าใจว่าคุณทำผิด 3.ไม่เป็นไร เดี๋ยวจะพาไปเที่ยว ซึ่งทั้ง 3 แนวคิดสะท้อนอะไรบางอย่าง กล่าวคือ หนึ่ง คนที่คิดว่าจะเด็กจะต้องโดนตีสะท้อนว่าแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงเพื่อให้เขากลัว สอง เราสื่อสาร คุยกัน ทำความเข้าใจกันเพื่อให้เขาคิดได้ สาม การอวยเพื่อปลอบใจเขา เพราะเขาเป็นเด็ก ทั้งหมดมันสะท้อนการแก้ปัญหาของคนในประเทศ บางอย่างใช้ความกลัวเข้าควบคุม บางอย่างคุย บางอย่างใช้การอวย

ขณะที่ ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง  อาจารย์ประจำวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่สังคมพร้อมใจกันช่วยทีมหมูป่าว่าเป็นเรื่องที่ดี ยกตัวอย่างเช่น ชาวนาที่ยอมให้นาข้าวของตนเป็นพื้นที่รับน้ำ หากเป็นกรณีอื่นเชื่อว่าคงมีการฟ้องร้องหรือโวยวายเกิดขึ้นแล้ว แต่กรณีหมูป่ามันไม่ใช่

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่มองข้ามเรื่องจำเป็นอย่างการอบรมการป้องกันสาธารณภัย หรือ การบูรณาการระหว่างหน่วยงานด้วยกัน อย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือทหาร และอย่างการซ้อมหนีไฟเราควรให้ความจริงจัง ไม่ควรทำเล่น ๆ เหมือนที่ผ่านมา อีกทั้ง ระยะยาวควรบรรจุในหลักสูตรการศึกษาด้วย


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่