ซูเปอร์โพล เผยคนส่วนใหญ่ 81.9% ชี้เลือกตั้งเป็นเรื่องจำเป็น เกินครึ่งระบุ ควรเกิดขึ้นช่วงต้นปีหน้า แต่ 90.3% ไม่เข้าใจไพรมารีโหวต ส่วนคุณสมบัติส.ส.ที่ดี ต้องเข้าถึงประชาชน แก้ปัญหาชาวบ้านได้
เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อ การเลือกตั้งและคุณสมบัติของ ส.ส.ที่ดีกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,147 ตัวอย่าง พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ระบุการเลือกตั้งเป็นเรื่องจำเป็น
ในขณะที่ร้อยละ 18.1 ระบุไม่จำเป็น
ความเหมาะสมของช่วงวันเลือกตั้ง
ร้อยละ 54.8 ระบุ การเลือกตั้งเหมาะสมช่วงต้นปีหน้า
รองลงมาคือร้อยละ 30.1 ระบุ การเลือกตั้งเหมาะสมช่วงกลางปีหน้า
และร้อยละ 15.1 ระบุ การเลือกตั้งเหมาะสมช่วงปลายปี
ที่น่าเป็นห่วง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.3 ยังไม่เข้าใจวิธีการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบใหม่ หรือ ไพรมารีโหวต ในขณะที่ร้อยละ 9.7 เข้าใจแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง คุณลักษณะของ ส.ส.ที่ดี พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.8 ระบุเข้าถึงประชาชน แก้ปัญหาชาวบ้านได้ดี
รองลงมาคือร้อยละ 64.9 ระบุ ซื่อสัตย์สุจริต
ร้อยละ 61.1 ระบุช่วยทำบ้านเมืองสงบสุข
ร้อยละ 58.3 ระบุคลุกคลีเป็นกันเองกับชาวบ้าน
ร้อยละ 57.4 รักประชาธิปไตย
ร้อยละ 52.7 กล้าตัดสินใจ
ร้อยละ 50.9 มีวิสัยทัศน์
ร้อยละ 46.3 เป็นคนทันสมัย
และร้อยละ 12.6 ระบุ อื่นๆ เช่น มีนโยบายใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น พัฒนาชุมชน มีชื่อเสียง เป็นต้น
มองย้ายพรรคเรื่องปกติ แต่รอดูพรรคใหม่ก่อนตัดสินใจเลือก
ขณะที่สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,096 คน ระหว่างวันที่ 24 – 28 กรกฎาคม 2561 กรณี ผู้สมัคร ส.ส. ย้ายพรรค จากกระแสข่าว ดูด ส.ส. หรือผู้สมัคร ส.ส.ย้ายพรรค ยังคงเป็นประเด็นทางการเมืองที่น่าจับตามอง ในขณะที่หัวหน้าพรรคการเมืองบางพรรคก็ออกมายอมรับว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งการย้ายพรรคถือเป็นสิทธิของผู้สมัครที่ไม่อาจไปก้าวก่ายการตัดสินใจได้ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน สรุปผลได้ ดังนี้
1.ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี ผู้จะสมัคร ส.ส.ย้ายพรรค
อันดับ 1. เป็นเรื่องปกติทางการเมือง มีให้เห็นในช่วงเลือกตั้ง 47.04%
อันดับ 2 ถูกจับตามอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการดูด ส.ส.31.19%
อันดับ 3เป็นสิทธิของผู้สมัครที่มีอิสระในการย้ายพรรค 30.28%
อันดับ 4.ทำให้ระบบพรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง ต้องหาทางแก้ไข รับมือ 22.16%
อันดับ 5ประชาชนควรติดตามข่าวสาร เพื่อประกอบการตัดสินใจ 16.88%
2. ระหว่างตัวผู้สมัคร ส.ส.กับพรรคการเมืองประชาชนให้ความสำคัญอะไรมากกว่ากัน
อันดับ 1พอๆ กัน38.69%เพราะ การทำงานจะมีประสิทธิภาพต้องอาศัยทั้งตัวผู้สมัคร และพรรค การเมืองที่ร่วมมือกัน สำคัญทั้งคู่ ฯลฯ
อันดับ 2ตัวผู้สมัครมากกว่า33.30%เพราะ เป็นปากเสียงให้กับประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติ รู้ปัญหาในพื้นที่ ทำงานใกล้ชิดประชาชน ฯลฯ
อันดับ 3พรรคที่สังกัดมากกว่า 28.01%เพราะ ถ้าพรรคเข้มแข็ง หัวหน้าพรรคดี มีนโยบายโดนใจ จะส่งเสริมการทำงานของผู้สมัครได้ดีขึ้น ฯลฯ
3.ในความคิดเห็นของประชาชน ทำไม? ผู้สมัคร ส.ส.จึงย้ายพรรค
อันดับ 1เป็นเรื่องผลประโยชน์ มองหาความมั่นคง และโอกาสที่ดีกว่า 38.90%
อันดับ 2 มีความขัดแย้งภายใน พรรคไม่มีเสถียรภาพ32.89%
อันดับ 3 อุดมการณ์ แนวคิด ทัศนคติการทำงานไม่ตรงกัน 24.87%
อันดับ 4 ต้องการเปลี่ยนแปลง ลองหาประสบการณ์จากพรรคอื่น19.52%
อันดับ 5 ถูกชักชวน รู้สึกว่าได้รับความสำคัญ และการยอมรับ 15.64%
4. ถ้าผู้สมัคร ส.ส.ที่เคยเลือกเมื่อการเลือกตั้งครั้งที่แล้วย้ายพรรค ประชาชนจะยังเลือกผู้สมัครคนนี้อีกหรือไม่
อันดับ 1ไม่แน่ใจ50.91%เพราะ คงต้องรอดูก่อนว่าย้ายไปพรรคไหน ใครเป็นหัวหน้าพรรค ดูนโยบาย พิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย ฯลฯ
อันดับ 2เลือก27.28%เพราะ ดูที่ตัวบุคคล ชื่นชอบ มีผลงานดี เป็นคนเก่ง มีความสามารถ มีประสบการณ์ เข้าใจปัญหาในพื้นที่ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เลือก 21.81%เพราะ รู้สึกผิดหวัง ไม่เชื่อมั่น เหมือนเป็นคนขาดอุดมการณ์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่า ฯลฯ