หน้าแรก news “เก็บฉาก” 616 ผู้ตรวจการ กกต. ได้ไปต่อ วงในแฉ “ล็อบบี้ล้ม”

“เก็บฉาก” 616 ผู้ตรวจการ กกต. ได้ไปต่อ วงในแฉ “ล็อบบี้ล้ม”

0
“เก็บฉาก” 616 ผู้ตรวจการ กกต. ได้ไปต่อ วงในแฉ “ล็อบบี้ล้ม”
Sharing

แหล่งข่าวจากรัฐสภา เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ร่วมกับ นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ สมาชิก สนช.ในการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ.2560 เพื่อยกเลิกการสรรหาผู้ตรวจการเลือกตั้ง ได้รับการประสานจากวิป สนช.บางรายว่าขอให้ทบทวนการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาว

แหล่งข่าวจาก สนช.กล่าวว่า สาเหตุที่ขอให้มีการทบทวนการเสนอกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากไม่ต้องการให้ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญลำดับรองลงมาจากรัฐธรรมนูญถูกแก้ไขได้ง่ายเหมือนกับกฎหมายทั่วไป นอกจากนี้ หาก สนช.ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติไปริเริ่มแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเอง โดยที่องค์กรอิสระในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มแล้ว อาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิดในอนาคตได้

“โดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรจะอาศัยแนวทางที่ สนช.ทำไว้ ด้วยการให้ ส.ส.เข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 1 ใน 10 ของสภาฯ แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เช่น กฎหมายพรรคการเมือง เพื่อยกเลิกการทำไพรมารี่โหวต หรือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ซึงจะส่งผลเสียในระยะยาว” แหล่งข่าวจาก สนช.ระบุ

แหล่งข่าว สนช.กล่าวว่า ดังนั้น ทางออกของเรื่องนี้ คือ หาก กกต.ชุดปัจจุบันตัดสินใจว่าจะไม่ลงนามรับรองผู้ที่ผ่านการสรรหาเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง โดยให้ กกต.ชุดใหม่ที่กำลังรอการโปรดเกล้าฯ มาทำการตรวจสอบรายชื่ออีกครั้ง วิป สนช.จะแจ้งข้อมูลไปยังคณะ สนช.ที่ริเริ่มเสนอกฎหมายให้ทบทวนต่อไป

ด้านนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้ พร้อมบอกว่า  การคัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้ง ทำตามขั้นตอน ส่วนจะต้องนำข้อปัญหา เข้าหารือในที่ประชุม กกต.หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ประธาน กกต.

ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องวงนอกวงใน ขณะที่เราอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห้นในการแก้ไขกฎหมาย ต้องรอวันที่ 18 ส.ค.นี้ ที่จะครบ 15 วัน ของกระบวนการรับฟังความเห็น ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ก็ต้องถอย เป็นไปตามหลักการ

ขอบคุณข้อมูล : แนวหน้า


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่