จับตาแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ดีเดย์กลาง พ.ย.รู้กัน “ใครได้ ใครเสีย”

Sharing

เป็นเรื่องลุ้นระทึกสำหรับกระบวนการการเลือกตั้งที่จะถึง บรรดาพรรคการเมืองรวมไปถึงผู้สมัครส.ส.ทั่วประเทศกำลังจับตามองเรื่องของการแบ่งเขตการเลือกตั้งว่าจะมีการแบ่งเขตออกมาอย่างไร และใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์บ้าง

ก่อนหน้านี้ นายณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ กกต. กล่าวถึงกรณีที่มีหนังสือแจ้งไปยังผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดให้ดำเนินการเตรียมเรื่องของการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพระเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของนักการเมืองและพรรคการเมือง ฉะนั้นในการทำไพรมารีโหวตผู้สมัครจะลงเขตไหน พรรคจะส่งผู้สมัครในพื้นที่ใด จะต้องมีข้อมูลการแบ่งเขตก่อน

โดยในส่วนของกกต. ใช้ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของปี 2559 ที่มีการสรุป ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2560 ดำเนินการคำนวณการแบ่งเขตไว้เบื้องต้น แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนราษฎรรายอำเภอ ซึ่งอาจมีผลทำให้จำนวนส.ส.ของแต่ละเขตมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ ผอ.กกต.ประจำจังหวัดก็จะทำหน้าที่แบ่งเขต 3 รูปแบบ และติดประกาศรูปแบบของการแบ่งเขตทั้ง 3 รูปแบบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียพรรคการเมือง เป็นเวลา 10 วัน ก่อนจะประมวลความคิดเห็นและส่งมายังกกต.ให้พิจารณาคัดเลือกรูปแบบที่ดีที่สุดให้แล้วเสร็จ

ซึ่งทั้งกระบวนการจะต้องทำให้เสร็จภายใน 60 วันนับแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือคาดว่าประมาณ กลางเดือน พ.ย. เรื่องของการแบ่งเขตต้องแล้วเสร็จ และเข้าสู่กระบวนการไพรมารีโหวตได้

นายศุภชัย  ใจสมุทร นายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า  ในส่วนของการแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด เพราะในขั้นต้นมีการนำเสนอออกมา 3 รูปแบบ แต่ยังไม่ใช่ข้อสรุปเพราะต้องผ่านกระบวนการในการทำประชาพิจารณ์ก่อน ซึ่งจะมีการสรุปในวันที่ 16 ตุลาคม 2562  ก่อนที่จะให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด นำเสนอไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กรือ กกต.กลางซึ่งอาจจะมีมากกว่า 3 รูปแบบที่กกต.จังหวัดเสนอมา

ทั้งนี้ ตนไม่คิดการแบ่งเขตเลือกตั้งว่าจะเอื้อให้กับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง เพราะทุกคนคือผู้มาใหม่เหมือนกันหมดการแข่งกันบนพื้นที่ใหม่ การเสนอตัวให้ประชาชนเลือก  ความนิยมในตัวพรรคและความนิยมในตัวผูสมัคร ดังนั้นในฐานะนักการเมืองตนมองว่าอย่าไปกังวล เพราะไม่ว่าเขตเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่ารูปแบบไหนตนเชื่อว่าผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทยพร้อมเข้าการเลือกตั้ง นอกจากนี้เชื่อว่ากกต.ใช้หลักกฏหมายในการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างเป็นธรรมทุกพื้นที่

อย่างไรก็ตามแค่เริ่มต้นก็ป่วนแล้ว ล่าสุด  จากการที่ กกต.จ.สกลนคร ได้จัดเขตเลือกตั้งเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นตามโรดแม็ปนั้น ผลประกาศออกมาล่าสุดพบว่า จ.สกลนคร มีประชากร 1,149,572 คน จากเดิมเคยมี ส.ส.จำนวน 7 คน 7 เขต และภายหลังมีการปรับใหม่ มาเป็น 6 เขต มี ส.ส.ได้ 6 คน ตามอัตราส่วนที่กำหนด แต่มีการปรับเขตพื้นที่ใหม่ เนื่องจากจำนวน ส.ส.ลดลง ทำให้บางอำเภอมีการเปลี่ยน แต่รูปแบบดังกล่าว บรรดาผู้ที่จะลงสมัครก็มองว่ามีความเป็นไปได้

นายขจรศักดิ์ เบญชัย ส.อบจ.สกลนคร เขตอ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ว่าที่ผู้สมัคร พรรคฝ่ายประชาธิปไตย กล่าวว่าการแบ่งเขตของ กกต. กลับเป็นคนละอย่างที่มีการนำเสนอเข้าไป  เพราะจากการประกาศล่าสุดพบว่ามีการปรับแบบใหม่ ที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากรในพื้นที่ เพราะ บางแห่งมีประชากรต่างกันมากกว่า 3 หมื่นคน อยากจะถามว่า ทำไม กกต.จึงไม่เอาตามแบบสัดส่วน ที่มีการนำเสนอไป จึงทำให้หลายคนมองว่า เป็นการจัดเขตเพื่อเอื้อประโยชน์ใครหรือไม่ โดยเฉพาะนักการเมืองที่เคยเป็นข้าราชการ และอยู่ในพื้นที่มานาน เตรียมที่จะลงแข่งขันในครั้งนี้หลายคน ทั้งนี้การประกาศเขตเลือกตั้งปรับแบบที่ผิดไปจากการนำเสนอ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่ม อดีตนักการเมือง ทั้ง ส.ส.และ สจ.ในพื้นที่ว่า เป็นการปรับเขตแบบเอื้อประโยชน์จนเห็นได้ชัด

ทั้ง ที่บางเขต มีจำนวนประชากรห่างกันเกือบ 3 หมื่นคน ทำให้กลุ่ม อดีต ส.ส. และสจ. และประชาชนที่ติดตามการเมืองไม่ค่อยพอใจกับการปรับเขตเลือกตั้ง และกำลังพิจารณาว่า จะมีการเข้าร้องเรียนต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อให้พิจารณาเกี่ยวกับ กกต. เพราะชาวบ้านมองว่า เป็นการปรับเพื่อเอื้อประโยชน์การเมืองมากกว่าสัดส่วนตามความเป็นจริง อดีตผู้สมัคร ส.ส.รายหนึ่งกล่าว

นอกจากนี้ในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา  ที่มีการประกาศการแบ่งเขตออกมาแล้ว แต่กระนั้นก็มีเสียงวิพากวิจารณ์ออกมาว่า เขตที่แบ่งออกมาเอื้อกับกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองบางพรรค ดังนั้นอาจจะมีการร้องเรียนไปยังกกต.ใหญ่เพื่อให้ทำประชาพิจารณ์ใหม่เพื่อให้มีการแบ่งเขตเลือกตั้งให้เป็นไปตามพื้นที่และเป็นไปตามความเป็นจริง ซึ่งยังคงมีเวลาจนกว่าจะถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2560 ที่จะมีการสรุปรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่บะจังหวัดเพื่อนำเสนอไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.ชุดใหญ่เพื่อปะกาศเป็นเขตเลือกตั้งต่อไป

บทความโดย : วัฒนา อ่อนกำปัง


Sharing
spot_img

Latest articles

Related articles

spot_img