หน้าแรก news สื่อวิเคราะห์ “ลัคกี้นัมเบอร์” พรรคภูมิใจไทย สู่ “ผู้จัดการรัฐบาล” หลังได้รับโอกาสทองจากปัญหาพรรคใหญ่-อุปสรรคพรรคใหม่

สื่อวิเคราะห์ “ลัคกี้นัมเบอร์” พรรคภูมิใจไทย สู่ “ผู้จัดการรัฐบาล” หลังได้รับโอกาสทองจากปัญหาพรรคใหญ่-อุปสรรคพรรคใหม่

0
สื่อวิเคราะห์ “ลัคกี้นัมเบอร์” พรรคภูมิใจไทย สู่ “ผู้จัดการรัฐบาล” หลังได้รับโอกาสทองจากปัญหาพรรคใหญ่-อุปสรรคพรรคใหม่
Sharing

เพจ The Agenda ซึ่งนำเสนอข่าวสารด้านการเมือง ที่ล่าสุดมียอดไลค์และยอดติดตามกว่า 14,000 คน นำเสนอบทวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทย ภายใต้การนำของนายอนุทิน ชาญวีรกูล ระบุว่า

การเปลี่ยนผ่าน การเมืองแท้ ๆสไตล์ “เนวิน ชิดชอบ”สู่ยุคคณิตศาสตร์การเมือง ยุคแบบ “เสี่ยหนู”

ขึ้นชื่อว่าเป็นนักการเมือง ที่มีประสบการณ์ครึ่งชีวิตในฐานะนักธุรกิจ อย่าง “อนุทิน ชาญวีรกูล” ทำให้คณะทำงานของพรรคภูมิใจไทย ต้องหามีวิธีประเมินความเป็นไปได้ทางการเมือง ผ่านวิชาคณิตศาสตร์มากกว่ารัฐศาสตร์

โดยเฉพาะการคัดสรรผู้สมัครลงพื้นที่รอบนี้ “ว่าที่ ส.ส.” ต้องมีคะแนนนิยมส่วนตัวอย่างต่ำ 20,000 เสียง จะถือเป็น “จุดคุ้มทุน” ในการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง

ทีมกลยุทธ์ของพรรคมองว่า ตัวเลข 20,000 เสียง ถือเป็นเครื่องการันตีว่ามีโอกาสลงแข่งแล้วชนะในพื้นที่ หรืออย่างน้อยที่สุดคือการนำเสียงไปคำนวณเป็นเก้าอี้ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบไม่ขาดทุน

เพราะการคำนวณฐานตัวเลขจากในระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วน ส่งผลให้พรรคใหญ่ถูกหั่นคะแนนบัญชีรายชื่อ และยังเป็นอุปสรรคสำหรับพรรคใหม่ในการสรรหาผู้สมัครให้ครบทุกเขต

แต่ปัญหาพรรคใหญ่ – อุปสรรคพรรคใหม่ กลับเป็นโอกาสทองให้พรรคขนาดกลางอย่างภูมิใจไทยมีลุ้นที่จะได้ ส.ส.เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มี 34 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งปี 2554

โดยในโค้งแรก ความหวังวางตัวผู้สมัคร ทำให้มองไกลไปถึงชัยชนะ ส.ส.เขต 35 ที่นั่ง และมี ส.ส.บัญชีรายชื่อในมือไม่ต่ำกว่า 15 ที่นั่ง

และเมื่อคำนวณคณิตศาสตร์ บวกกับท่าทีการเมืองที่เป็นรัฐศาสตร์ สูตรเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทย จึงต้องการ ส.ส.ในมือไม่เกิน 60 ที่นั่ง เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง

เพราะตัวเลขเกินกว่า 60 ที่นั่ง จะทำให้เสี่ยงที่จะอยู่ในกลุ่มพรรคเสียงข้างมาก แต่อำนาจต่อรองต่ำ แม้จะได้เป็นรัฐบาล แต่ไร้อำนาจในการบริหารจัดการภายใน

แต่ในทางกลับกันตัวเลขต่ำกว่า 60 ที่นั่ง จะทำให้พรรคถูกดึง – ดูดจากพรรรคการเมืองขนาดใหญ่ ที่ขาดคะแนนเสียงในการจัดตั้งรัฐบาล

จึงมีความเป็นไปได้ที่พรรคภูมิใจจะเป็น “ผู้เล่นหลัก” ในสนามเลือกตั้งครั้งต่อไป ที่พ่วงด้วยตำแหน่ง “ผู้จัดการรัฐบาล” จากอำนาจต่อรองทางการเมือง

ส่วนสนามความจริงจะเป็นเหมือนดั่งฝันที่วาดเอาไว้หรือไม่ คงต้องจับตาดูกันแบบห้ามกระพริบตา

 

ขอบคุณ : The Agenda


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่