หน้าแรก news “ภูมิใจไทย” หนุนประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น

“ภูมิใจไทย” หนุนประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น

0
“ภูมิใจไทย” หนุนประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น
Sharing

นายศุภชัย ใจสมุทร นายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นว่า การปกครองของไทยที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดคือการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเป็นองค์กรปกครองที่อยู่ในพื้นที่ รับรู้ปัญหาในพื้นที่ ถือเป็นหน้าด่านของการปกครองระดับชาติ ดังนั้น การปกครองท้องถิ่นจึงมีความสำคัญมาก ดังนั้น พรรคภูมิใจไทยจึงให้ความสนใจในการปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดทำแนวคิดในการแก้ปัญหาท้องถิ่นแบบบูรณาการ คือการมีส่วนร่วมของประชาชน เน้นในการแก้ปัญหาปากท้องให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้พัฒนาให้องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถดำเนินนโยบายตามหลักธรรมมาภิบาล มีความโปร่งใสในการบริหารพื้นที่ รวมทั้งการบริการสาธารณะต้องมีหลักชัดเจนว่าจะทำนโยบายต่างๆเพื่อวัตถุประสงค์ใด ป้องกันการทุจริต พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีระบบและจริงจัง การแก้ไขการให้บริการสาธารณะต่างๆ ในการปกครองท้องถิ่น ที่ต้องดำเนินการรวดเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม

นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า การนำเสนอแนวคิด “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” เป็นการแก้ไขกฏหมายบางอย่างที่มีมานานแล้ว และก่อให้เกิดปัญหาในการทำมาหากินของประชาชน แต่ไม่ได้ลดอำนาจจากส่วนกลาง หรือลดอำนาจในส่วนของการปกครองท้องถิ่นด้วย เพราะบางท้องถิ่นมีการออกกฏ ระเบียบ เพื่อบังคับใช้ในพื้นที่ บางอย่างมีปัญหาในทางปฏิบัติ ดังนั้น อะไรที่ออกมาแล้วมันทีผลกระทบกับการประชาชนในท้องถิ่นก็ต้องมามาพิจารณาหาทางออกร่วมกัน แก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ โดยไม่ขัดกับกฏระเบียบที่ท้องถิ่นออกมาบังคับท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งกรณีโฮมสเตย์ที่หลายพื้นที่มีปัญหาเพราะมีการเอาระเบียบหรือกฏหมายผู้ประกอบการของโรงแรมไปดำเนินการกับผู้ประกอบการที่เป็นชาวบ้านที่อยากหารายได้จากบ้านของตนเอง ก็เลยส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งตรงนี้รัฐต้องเข้าไปดูไปแก้ปัญหา การแก้ไขกฏหมายท้องถิ่นบางพื้นที่ก็ก่อให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านสามารถสร้างรายได้และเป็นการกระจายรายได้ของท้องถิ่นที่มาจากการท่องเที่ยวไปด้วย ถือว่าได้ประโยชน์ทุกฝ่าย

“ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ไม่ได้ไปลดอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เป็นการเข้าไปแก้ปัญหาเกี่ยวกับกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับ บางอย่างที่อาจไม่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ หรือ เป็นกฏหมายโบราณที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้ไปลดอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐทั้งจากท้องถิ่นหรือส่วนกลางแต่อย่างใด” นายศุภชัยกล่าว


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่