หน้าแรก news “นักวิชาการ” แนะ “บิ๊กตู่” ถอยมาเป็นคนกลาง ดีกว่าร่วมสงครามที่มีโอกาสแพ้

“นักวิชาการ” แนะ “บิ๊กตู่” ถอยมาเป็นคนกลาง ดีกว่าร่วมสงครามที่มีโอกาสแพ้

0
“นักวิชาการ” แนะ “บิ๊กตู่” ถอยมาเป็นคนกลาง ดีกว่าร่วมสงครามที่มีโอกาสแพ้
Sharing

ที่โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ รางน้ำ ในงานเสวนา “เลือกตั้ง 62 จุดเปลี่ยนประเทศไทย”  ซึ่งจัดโดยมติชน นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และอดีตกรรมการกำกับนโยบายและรัฐวิสาหกิจ (คนร.) กล่าวว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยภายหลังการเลือกตั้ง ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตต่ำที่สุด  เพราะเศรษฐกิจไทยมีลักษณะอ่อนแอ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1.แข็งนอกอ่อนใน หมายถึง เศรษฐกิจภายนอกประเทศดี แต่ภายในยังอ่อนแอ 2.แข็งบนอ่อนล่าง หมายถึงคนชั้นบนก็จะยังมีกำลังสูง แต่คนล่างก็ยังไม่ได้ประโยชน์กับเศรษฐกิจ และ 3.แข็งไม่ถาวร หมายถึงเศรษฐกิจไทยต่อไปนี้โดยรวมคือสภาพเศรษฐกิจยังไม่มีความเสถียรภาพ ไม่มีความแน่นอน

นายบรรยง กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เคยให้ความสำคัญกับการพัฒนารากฐานของประเทศ เรามองข้ามเรื่องการศึกษา แต่กลับขยายขนาดของรัฐราชการให้เติบโตแบบไร้ขอบเขต ทั้งที่ คนปัจจุบันนี้ ทำมาหากินแทบไม่ต้องพึ่งรัฐกันแล้ว มีเพียงรนักธุรกิจเพียงน้อยนิด ที่ต้องอาศัยรัฐช่วยทำมาหากิน แต่เราไปให้ความสนใจกับคนกลุ่มนี้ ความน่ากังวลคือคุณกำลังตีกรอบควบคุมรัฐบาลหน้า ซึ่งเป้นตัวแทนที่มาจากประชาชน เท่ากับคุณกำลังควบคุมประชาชนอยู่ด้วย

ด้าน  ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และนักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้คือวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม และมีสิ่งที่คู่ขนานกันไป คือการเลือกตั้ง ส.ว. ที่เป็นประเด็นสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้ สิ่งที่ต้องจับตามองคือครั้งนี้ เป้นครั้งแรกที่วุฒิสภาเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกนายกฯได้ ภายใต้เงื่อนไขว่า คนที่เป้นนายกฯ ต้องได้เสียงทั้งสภา 376 เสียงขึ้นไป ซึ่งพลเอกประยุทธ์ เล็งช่องทางนี้ไว้อยู่ เนื่องจากเป็นการเข้ามาในรูปแบบของนายกฯคนใน ซึ่งแรงเสียดทานน้อยกว่า

“โอกาสที่พลเอกประยุทธ์ จะเป็นนายกในรอบแรก คือ ต้องได้เสียงสนับสนุนจากประชาธิปัตย์ เพราะเพื่อไทยเขาไม่เอากับคุณแน่ ด้วยเงื่อนไขนี้ พปชร. ต้องมาที่ 1 แต่หากอันดับ 1 เป็นพท. การจะให้ ปชป. จะยกมือให้พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นเรื่องยาก แต่หากว่าท่านเป็นพท. ท่านได้ที่ 1 และรู้ว่าพรรคที่เหลือรวมกันสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ท่านจะทำอย่างไรให้ไม่เป็นฝ่ายค้าน นั่นคือ ให้ปชป.เป็นนายกฯ ขณะเดียวกันถ้าหากปชป.มาเป็นอันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็จะกลายเป็นนายกฯ ดังนั้น พปชร. จึงต้องได้คะแนนเป็นที่ 1 เท่านั้น

ทั้งนี้จากโพลคนอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์สูงถึง 26.20 เปอร์เซ็นต์แต่โพสอยากให้คนอื่น เป็นนายกฯกลับมีถึง 74 % ซึ่งหากพล.อ.ประยุทธ์ เชื่อโพลนี้จะต้องให้มีตัวเลขถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ถึงจะน่าลงสมัครเป็นนายกฯ”

ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า ตนจึงขอนำคำพูดของซุนวู คือ ต้องชนะตั้งแต่ก่อนเข้าสนาม เพราะโอกาสชนะมีเพียงเงื่อนไขเดียวคือ พปชร. ต้องมาที่ 1 และการที่พล.อ.ประยุทธ์ เป็นว่าที่นายกฯ ที่ไม่ใช่นายกรักษาการ นั่นหมายถึงอำนาจในการทำอะไรต่ออะไร จะมีผลต่อคะแนนเสียงของพรรคที่เสนอชื่อท่าน และ คสช. จะกลายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขณะเดียวกันท่านยังเป็นหัวหน้า คสช. ที่สั่งการได้ทุกเรื่องได้เปรียบทุกพรรค และ การเลือก ส.ว.จะถูกตั้งคำถามทันที ว่าทำไมเลือกคนนี้ไม่เลือกคนนั้น เลือกมาเพื่อให้ตัวเองเป็นนายกฯใช่หรือไม่ คำถามจะดังขึ้นมาเรื่อยๆจนตอบไม่ได้ เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตนเอง ซึ่งดูไปดูมาเห็นแต่ข้อเสีย ตนจึงเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ถอยกลับสู่สถานะคนกลาง แล้วให้ ส.ว.กำหนดตัวนายกฯ

รศ.โคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ในฐานะอดีต กกต. อยากให้กำลังใจ ขอให้ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา  สิ่งที่อยากให้ขบคิดคือ ประชาชน สมควรเลือกพรรคจากนโยบาย หัวใจของพรรคการเมืองคือนโยบาย ประชาชนควรเลือกพรรคที่มีนโยบายที่เขาให้ความสำคัญและเป็นนโยบายที่ปฏิบัติได้จริง เช่นขณะนี้ หลายพรรคการเมืองเสนอเรื่องลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งพูดกันมานาน แต่ไม่เคยเปลี่ยนได้ เพราะเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ ยังมีเรื่องกระจายอำนาจ ความปรองดอง และความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

“ข้อเสนอของตนสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ 1.เคารพหลักการ พรรคการเมืองต้องมี ส.ส.เกิน 250 คน จึงจะมีสิทธิเลือกนายกฯ 2.นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง แปลว่า คนที่เป็นนายกฯควรต้องเป็น ส.ส. 3.ต้องเอานโยบายของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่มีเสียงเกิน 250 เสียง มาใช้ประโยชน์ทั้งหมด จึงจะเป็นการเคารพเสียงของประชาชน 4.ในทางปฏิบัติ ให้พรรคที่ได้คะแนนอันดับ 1 เชิญพรรค พปชร.มาคุยก่อน พยายามให้มาร่วมรัฐบาล เพราะพรรคอันดับ 1 มีอำนาจมหาศาลอยู่แล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้จะเป็นการแบ่งปันอำนาจอย่างแท้จริง เหมาะสมกับช่วงเปลี่ยนผ่าน ทำให้บ้านเมืองสงบ มีเสถียรภาพ หากเสียงไม่พอ ก็ดึงพรรคอื่นมาร่วมรัฐบาลได้ และขอว่าอย่าบริหารแบบเดิม อย่าต่อรองตำแหน่ง มิเช่นนั้น จะเป็นไปตามคำกล่าวของมหาตมะ คานธี ที่บอกว่าบาปประการหนึ่งคือการเมืองที่ไม่มีหลักการ ทั้งนี้ ตนไม่ทราบว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ขอให้ประชาชนอย่ายกให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสียทั้งหมด เพราะอนาคตอยู่ในมือของทุกคน”

ด้าน ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเมืองไทยยังเป็นการต่อสู้ทางการเมือง 2 ชุด คือ อนุรักษ์นิยม กับ เสรีนิยม การรัฐประหาร 2 ครั้งหลังสุดสะท้อนว่า ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยยังเดินไปไม่ไกลกว่าการรัฐประหาร จะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์แพ้เลือกตั้งแพ้ทั้งหมด จึงทำให้การเมืองกลับมาสู่สูตรเดิม

นักวิชาการชื่อดัง กล่าวต่อว่า  ประชาธิปไตยยังเป็นอนาคตสำหรับสังคมไทย หากเสรีนิยมยังเป็นอนาคตกับสังคมไทย ตนขอเรียกร้องว่า ต้องช่วยกันปลดแอก 5 ข้อ ข้อแรก ถึงเวลาแล้วที่จะต้องติดถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และผลักดันให้เกิดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 แอกที่สอง กฏหมายลูกล้วนไม่ตอบสนองในการพาสังคมไทยไปสู่อนาคต ต้องรื้อ แอกที่สาม ยุทธ์ศาสตร์ไม่ได้ออกแบบเพื่อการดำรงอยู่ภายใต้อนาคต ต้องเท แอกที่สี่ การยกสถานะของกอ.รมน. กลายเป็นหนึ่งกระทรวงซ้อนอยู่ ต้องทำให้กลับถอยกลับไปอยู่สถานะเดิม และ แอกที่ห้า เราจะเอาอย่างไรอนาคตของกองทัพ เราจะปล่อยให้ผู้นำทหารออกมาพูดจาคุกคามในทางการเมืองอีกหรือไม่

“วันนี้ถึงเวลาที่กองทัพไทยต้องกลับไปสู่ทหารอาชีพ เราไม่ต้องการทหารการเมืองเพื่อการพัฒนาประเทศ​ เราไม่ต้องการนักการเมืองในเครื่องแบบต่อไป สิ่งที่เห็นชัด ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่มีพรรคทหารประสบความสำเร็จเลย แม้ว่า ยุคปัจจุบันจะเป็นการหลอมรวมจิตวิณญาณครั้งใหญ่ แต่ผมยืนยันได้ว่า พรรคทหารก็จะประสบความล้มเหลวครั้งใหญ่เช่นกัน เพราะที่ผ่านมา ทหารไทยไม่มีขีดความสามารถในการทำ IO เพราะ ทหารไทยทำได้แค่ ปฏิบัติการจิตวิทยา หรือ ปวจ. ล้างสมองคนในยุคของสงครามเย็น แต่วันนี้เป้าหมายเปลี่ยน กองทัพเครื่องมือนี้ในการต่อสู้กับฝ่ายประชาธิปไตย แต่สิ่งที่เหลืออยู่คือกองทัพคุมมือเราในคูหาเลือกตั้งไม่ได้” นายสุรชาติ กล่าว

ขอบคุณข้อมูล : มติชน

 


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่